วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัดเขียน จิตรกรรมฝาผนังวิเศษฯ

ข้อมูลจาก http://www.bansansuk.com/travel/Measure%20write/

วัดเขียน เป็นวัดเล็ก ๆ ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 50 บ้านคงกะพัน หมู่ที่ 8 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน้อย มีหมู่บ้านและลำคลองโดยรอบบริเวณวัด เดิมถูกปล่อยร้างอยู่เป็นเวลานาน เมื่อมีผู้คนมาอาศัยอยู่มากขึ้นกลายเป็นชุมชน วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมของชุมชนในเวลาต่อมา


สำหรับคำว่า "วัดเขียน" อาจสัญนษฐานได้ 2 กรณีคือ กรณีแรก เนื่องจากภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนที่สาวยงามจึงเรียก วัดเขียน ตามอย่างดบสถ์เขียนหรือวิหารเขียนที่วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ตามแนวคิดของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อีกกรณีหนึ่ง เดิมวัดนี้ชื่อ วัดเขียน อยู่แล้ว แต่เพื่อให้สมกับชื่อจึงมีการเขียนภาพไว้ในพระอุโบสถ



เนื่องจากไม่ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างวัดแห่งนี้ จึงไม่สามารถกำหนดอายุที่แน่นอนได้ว่าสร้างเมื่อใด แต่จากสภาพแวดล้อมและลักษณะของวัดบริเวณใกล้เคียง สันนิษฐานว่าวัดเขียนและวัดบริเวณใกล้เคียง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันและได้ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานก่อนจะมีกการบูรณะขึ้นใหม่ แต่จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีวัตถุสถานของวัดแห่งนี้ เช่น อุโบสถ ใบเสมา เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ล้วนสนับสนุนการกำหนดอายุของวัดแห่งนี้ว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาทั้งสิ้น ดังนั้นก็เป็นที่น่าเชื่อว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถก็เป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นเดียวกัน



ศิลปะโบราณวัตถุสถานที่น่าสนใจภายในวัดเขียน ได้แก่
อุโบสถ อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อุโบสถหลังเดิมมีขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นประตูหลอก ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้าละ 3 บาน เป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 2 บาน ที่เหลืออีกด้านหนึ่งเป็นหน้าต่างหลอก เสาภายในอาคารเป็นเสาเหลี่ยมติดผนัง บัวหัวเสาร์เป็นหัวกลีบยาวซึ่งเป็นลักษณะของบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย หน้าบันเป็นหน้าบันไม้ขนาดเล็กแกะสลักลวดลายเป็นลายเทพนมและลายกระจังรวน ในคราวที่มีการปฏิสังขรณ์อาคารใหม่หลังจากได้เคยถูกทิ้งร้างมาครั้งหนึ่ง หน้าบันทั้ง 2 ชิ้นได้ถูกรื้อลงและนำไปประกอบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านชลประทาน เครื่องบันหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องลอนสีน้ำตาลแดง มีชายคาปีกนกยื่นออกมา 2 ข้าง สลักลวดลายเช่นเดียวกับลายหน้าบัน



ใบเสมาอุโบสถวัดเขียน อ่างทอง อยู่รอบพระอุโบสถ ยอดทรงมงกุฎ มีทับทรวง มีตาเสมา มีเอว มีท้องเสมา เป็นใบเสมาสมัยอยุธยาตอนปลาย เหมือนใบเสมาวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ อันเป็นของสมัยอยุธยาตอนปลาย


เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สมัยอยุธยาตอนปลาย อยุ่หน้าอุโบสถวัดเขียนทางด้านทิศตะวันออก (หน้าอุโบสถหันออกสู่แม่น้ำเป็นแบบแผนอยุธยาตอนปลายอย่างหนึ่งที่นิยมสร้างเจดีย์อยู่หน้าอุโบสถเช่นเดียวกับวัดพิไชยสงคราม (วัดนอก) สมุทรปราการ วัดสามวิหาร อยุธยา วัดศรีโพธิ์ อยุธยา วัดพยาแมน อยุธยา)


ภาพเขียนในอุโบสถ

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกภายในป่าหิมพาน รูปเหล่าสาวชาวป่าทำบุญตักบาตรพระสงฆ์


วันว่างอย่าลืมมาชมความงามของภาพจิตกรรมโบราณในอุโบสถ ณ วัดเขียน ศึกษาประวัติความเป็นมาของวัด และทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

การเดินทาง
วัดเขียนห่างจากอำเภอเมือง 12 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 3454 ประมาณ 1 กิโลเมตร

http://www.bansansuk.com/travel/Measure%20write/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น