วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัดนางใน หลวงพ่อนุ่ม

ประวัตินางในธัมมิการาม
ข้อมูลจาก http://p.moohin.com/119.shtml

ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ บ้านนางใน หมู่ที่ ๗ ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๕ วา โฉนดเลขที่ ๘๙๓๔,๑๓๐๐๘ อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับถนนสายโพธิพยา - อ่างทอง ทิศใต้และทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนสุขาภิบาลศาลเจ้าโรงทอง ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินของนายสม เมืองบุรี และนายสี มงคลอินทร มีที่ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๖๔ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๑๘

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีบ้านเรือนประชาชนโดยรอบ และมีสถานที่สาธารณะเป็นทางคมนาคมสะดวก อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี อุโบสถกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ศาลาการเปรียญกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๔๘ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นอาคารไม้ โครงสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นอาคารไม้ทั้งหลัง กุฎีสงฆ์ จำนวน ๙ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สำหรับปูชนียวัตถุ พระประธานในอุโบสถ

วัดนางในธัมมิการาม สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๓ ชาวบ้านเรียก “วัดนางใน” ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณพ.ศ. ๒๔๕๓ การบูรณะพัฒนาวัดได้เริ่มจริงจังขึ้นมากในสมัยของพระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม เป็นเจ้าอาวาส นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นต้นมา เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ นอกจากนี้ยังได้ให้ทางราชการจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นในที่วัดนี้อีกด้วย

http://p.moohin.com/119.shtml


ข้อมูลประวัติหลวงพ่อนุ่ม

เกิดวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2426 ตรงกับแรม 3 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม เป็นบุตรของ นายสอน นางแจ่ม ศรแก้วดารา
ณ บ้านสามจุ่น อ.ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี


อุปสมบท ณ วัดปลายนา อ.ศรีประจันต์ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446


มรณภาพ วันที่ 13 สิงหาคม 2497 เวลา 23.l5 น.


รวมสิริอายุ 72 ปี 52 พรรษา

พระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2426 อ่อนกว่าหลวงพ่อพัก 1 ปี โยมบิดาของท่านชื่อสอน โยมมารดาชื่อแจ่ม นามสกุลศรแก้วดารา หลวงพ่อนุ่มเกิดที่บ้านสามจุ่น ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตอนที่ท่านอายุได้ 10 ขวบ ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน และเมื่ออายุท่านครบ 20 ปี

จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446 โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม พรรษาที่ 8 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ตำบลศาลเจ้าโรงทอง

เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น ประชาชนในท้องที่นั้นเคารพศรัทธาเลื่อมใสช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างพระ อุโบสถวัดสามจุ่นจึงสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม

พอถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงอีก 10 ปี ต่อมาจึงได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ ในปี พ.ศ. 2469 ในสมัยนั้นวัดนางในชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางใน

จนเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ถึงปี พ.ศ. 2477 ท่านจึงได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ผลงานต่างๆ ของหลวงพ่อมีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด หลวงพ่อนุ่มปกครองวัดนางในเป็นเวลา 30 ปี จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ท่านจึงมรณภาพ สิริอายุได้ 71 ปี พรรษาที่ 51 ในงานประจำปีของวัดนางในทุกปี จะจัดงานตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โตทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานเป็นหมื่นคนทุกปี

ในสมัยที่ท่าน ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ พระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา และเบี้ยแก้ เป็นต้น วัตถุมงคลทุกชนิดของหลวงพ่อนุ่มล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมเสาะหา และหวงแหนของชาววิเศษชัยชาญ เหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นสนนราคาหลักหมื่นกลางๆ


วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

เหรียญรุ่นแรก คือ เหรียญปั๊มรุ่นเดียวที่ทันหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีขนาดค่อนข้างเล็ก ด้านหน้ารูปเหมือนหน้าตรงครึ่งองค์ อักษรภาษาไทยด้านบนอ่านว่า “พระอุปัชฌาย์ (นุ่ม)” ภายในซุ้มไข่ปลาและซุ้มเส้นลวด ด้านหลังเป็นยันต์ห้า และอักขระขอมหนึ่งแถวใต้ยันต์ลงมา

วัตถุมงคลอื่น ๆ ประกอบด้วย เหรียญรุ่นต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเหรียญรุ่นแรก มีประมาณสิบกว่ารุ่น เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมพิมพ์พระพุทธ พระเนื้อดินจุ่มรัก พิมพ์นั่งบัว รูปเหมือนปั๊มบรรจุอัฐิ เบี้ยแก้ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น