วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ระนาดลิเก วิเศษฯ ในบางบรรเลงเพลงระนาด 5 ทุ่ม 19 มีนาคมนี้



คมสันต์พาไปพบ ระนาดลิเก วิเศษฯ ในบางบรรเลงเพลงระนาด 5 ทุ่ม 19 มีนาคมนี้

คมสันต์ สุทนต์ผู้ดำเนินรายการพาไปพบพูดคุยอย่างสนุกออกรสชาดเรื่องระนาดลิเก กับศิลปินวิเศษชัยชาญ อาจารย์พงษ์ศักดิ์ สวนศรี พระเอกลิเกเงินล้าน, ครูบุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ(ลิเก),พี่แก่-ครูสมชาย พิกุลทอง ต้นแบบคนระนาดลิเกยุคเวทีลอยฟ้า, ลุงยอม-ครูพยอม พันธุ์ไม้ และลุงปิ่น-ครูปิ่น ศรแก้ว อดีตระนาดลิเกเลื่องชื่อ พร้อมตามไปชมลิเกเวทีลอยฟ้า ที่บ้านโพธิ์ แปดริ้ว ฟังเพลงกระต่ายเต้น เพลงยอดนิยมที่ลิเกทุกคณะไม่ร้องไม่ได้ ในรายการบางบรรเลงเพลงระนาด ตอนระนาดลิเก วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2555 เวลา 23.00 น.(ห้าทุ่ม) ไทยพีบีเอส



“..ผมไม่ได้ว่าจะมาเอาดีทางระนาดลิเกเลย พอดีผมนั่งตีแล้วคนชอบ ลิเกชอบ ผมก็เลยนั่งตีมาถึงทุกวันนี้..”
“..ระนาดลิเกไม่มีศักดิ์ศรี เปรียบเทียบกับระนาดประชันไม่ได้เลย มันคนระบบ คือระนาดลิเกเป็นระนาดแบบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขาประชันนะมาใส่ในเพลงลิเก ที่เขาประชันมันเหมือนเพลงต้นฉบับ หมายความว่าเราเป็นเหมือนหางแถว..”
พี่แก่-ครูสมชาย พิกุลทอง



“สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือเปลี่ยนเป็นเวทีลอยฟ้า คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สมัยนั้นช่วยกันคิด ผู้ใหญ่เขาก็ยังไม่ยอมรับเข้าใจ ถือว่าผมกล้า หน่วยหน้ากล้าตาย แล้วปี่พาทย์สมัยก่อนก็อยู่ตรงด้านข้างในหลืบ เหมือนกับละครชาตรี โบราณเขาวางกันมา เราก็อยากจะให้โชว์ความสวย ความอลังการ โชว์ความสามารถ เราอยากให้เห็นคนระนาดของเราบ้าง”
อ.พงษ์ศักดิ์ สวนศรี


“คนระนาดลิเกวิเศษฯ ตอนผมเด็กก็จะมีครูฟอง กับครูไข่ พี่น้องคู่นี้ สมัยก่อนแกจะเป็นคนหยิ่งรักศักดิ์ศรีของนักระนาดไทย ถ้าหาลิเกกรุงเทพฯมา เจ้าภาพจัดอาการเลี้ยงแกจะดูเลยว่า อาหารที่มาเลี้ยงลิเกเป็นยังไง แล้วอาหารที่มาเลี้ยงพวกปี่พาทย์เนี๊ยะเป็นยังไง ต้องเหมือนกัน เสมอภาคกัน ถ้าไม่พอใจนี่ แบกระนาดกลับเลย”
ครูบุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ



“คณะทองอาบ ไผ่ดำ ตีรับลิเกตั้งแต่หัวค่ำผมก็จนแล้วละ 6-7 เพลง แล้วพ่ออาจารย์ถาวร ผู้ใหญ่ประเสริฐ สดแสงจันทร์ เขาก็มาช่วยตีก็จนอีก ขนาดว่าเก่งกันแล้วนะ คืนนั้นระนาด 3 คนจนเพลงกันยันสว่าง(หัวเราะร่า) แล้วก็ไม่ได้ถามเพลงกันหรอกครับหลังงาน ลิเกเลิกก็ต่างคนต่างไป จนแล้วจนเลย เพราะบ้านก็ไม่ได้อยู่ใกล้กัน..”
ลุงยอม-ครูพยอม พันธุ์ไม้



“ลิเกมาอวดดีแถววิเศษไม่ได้น่ะ เมื่อสมัยก่อน ครูฟอง พ่อบุญธรรมของผมนี่นา ถ้าลิเกมาจากกรุงเทพฯ ทำตัวยะโส อวดดี แกจะรับเพลงสวมส่งเดชเลย ลิเกมันก็เจ๊งเลยครับ คือหมดความสนุก นัยประวัติแกเป็นคนโมโหร้าย เมาด้วย”
“ขอโทษเถอะครับ ถ้าลิเกร้องไม่ถูกไม่ต้อง แกจะเอาตีน(เท้า)ขวัก แล้วบอกมานี่เดี๋ยวกูจะร้องให้ฟัง”
ลุงปิ่น-ครูปิ่น ศรแก้ว



“..ระนาดลิเกก็มีความน่าภาคภูมิใจ เพราะมันไม่มีแบบแผน ไม่มีหลักสูตรสอนในวิทยาลัยนาฎศิลป ต้องใช้ภูมิความรู้ ไหวพริบปฏิภาณซึ่งน้อยคนที่จะทำได้อย่างพ่อ”“ในฐานะนักดนตรี
ในฐานะของความเป็นพ่อเขาเก่ง เขาไม่มีเงินเดือน เขาเลี้ยงลูกจนโตมาได้ บางทีผมยังคิด ถ้าผมมีลูก มีเงินเดือนแล้วตีระนาด จะมีเงินเลี้ยงลูกได้หรือเปล่า?”
เอกชัย โคกบัว : ทายาทระนาดลิเกวิเศษชัยชาญ



“ระนาดลิเกวิเศษฯ ทั้งสามท่านที่เป็นศิลปินต้นเรื่องจริงๆแล้ว..ไม่ได้วิเศษวิโสมาจากไหนหรอกครับ ทุกคนก็เป็นศิลปินเดินดินธรรมดาแต่หัวจิตหัวใจข้างในต่างหาก ที่มีแต่ความเมตตาไม่เคยคิดกลั่นแกล้งใคร อ่อนน้อมถ่อมตนยอมเป็นฝ่ายรับทำตาม ไม่คิดว่าตัวเองมีศักดิ์ศรี ไม่ยึดมั่นถือมั่นปล่อยวางได้ทุกเมื่อ ทั้งหมดคือคุณค่าที่ผมพาคุณผู้ชมมาตามหาเพื่อนำสิ่งดีๆไปปรับใช้กับชีวิตจริงของเรา อย่างน้อยบางบรรเลงเพลงระนาด ก็เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเองกลับมาฝึกฝนระนาด เรียนรู้เพิ่มพูนและเตรียมพร้อมถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อไปอีกครั้งครับ” คมสันต์กล่าวปิดท้ายรายการ

รายการบางบรรเลงเพลงระนาด ตอนระนาดลิเก วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2555 เวลา 23.00 น.(ห้าทุ่ม) ทาง ไทยพีบีเอส“แล้วคุณ..จะรักระนาด ทุกชาติไป”


วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัดวิเศษชัยชาญ อนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว

วัดวิเศษชัยชาญ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

วัดวิเศษชัยชาญ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองวิเศษชัยชาญมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันเหลือหลักฐานเพียงเจดีย์เท่านั้นสิ่งปลูกสร้างนอกเหนือจากนั้นได้สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อาทิ เช่น พระอุโบสถซึ่งภายในมีวิจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นในสมัยเดียวกัน เป็นภาพพุทธประวัติและภาพข้าศึกที่เป็นฝรั่งขี่เข้ามา ภาพทั้งหมดเขียนแบบแรงเงาโดบนายปุ๋ย พุ่มรักษา ช่างในเมืองหลวง ส่วนด้านข้างพระอุโบสถมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

ส่วนอนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว ประดิษฐานอยู่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญ ในวัดวิเศษชัยชาญ ตำบลไผ่จำศีล หากไปอ่างทองจะมาวิเศษชัยชาญ จะเลี้ยวซ้ายตรงข้ามธนาคาร ธกส. เข้าไปตามถนนมีชื่อซอยบอกไว้ว่า ซอยปู่ดอก - ปู่ทองแก้ว จนถึงซอย ๑๖ ก็จะถึงวัดวิเศษชัยชาญ

วัดม่วง หลวงพ่อใหญ่ที่สุดในโลก

ประวัติความเป็นมา พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง (หลวงพ่อใหญ่)
http://travel.mthai.com/news/3364.html

หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ด้วยตัวของท่านเอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2534 และต่อมา วันที่ 2 พฤษภาคม 2534 ได้ทำพิธีตอกลงเข็มเสาเอก หลวงพ่อเกษมเป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับลูกศิษย์และ ประชาชนผู้มีใจบุญทั้งหลาย เข้ามาร่วมกันก่อสร้างองค์พระ ทำให้ได้มีเงินทุนมากพอ ในการก่อสร้าง การหล่อหลอมสร้างองค์พระ ใช้วัสดุ อิฐ หิน ปูน ทราย หลวงพ่อใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ จากผู้มาบริจาคในวัด เงินจากที่หลวงพ่อออกปฎิบัติกิจนิมนต์ เงินจากการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และงานบุญต่างๆในวัด และพร้อมด้วยคณะศิษย์ของหลวงพ่อ โดยหลวงพ่อได้ควบคุมการก่อสร้างเองมาตลอด มาระยะหลัง หลวงพ่อเกษมตรากตรำงานมาก จึงมีร่างกายอ่อนเพลีย ได้ให้หมดตรวจร่างกาย พบว่าเป็นมะเร็งที่ตับ จึงเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลศิริราช ตึก 84 ปี ชั้น 9 ห้อง 925 หมอได้ทำการรักษาไม่กี่เดือน ก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 ศิริอายุได้ 54 ปี 6 เดือน 7 วัน

หลวงพ่อเกษม เคยสั่งบอกฝากกับลูกศิษย์ การก่อสร้างองค์พระ ให้ช่วยกันก่อสร้างต่อจากหลวงพ่อ ให้เสร็จ และหลวงพ่อเกษมได้ตั้งนามองค์พระเอาไว้ว่า “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” พระนามนี้หลวงพ่อเกษมตั้งใจสร้างองค์พระนี้ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 คณะลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม ได้พร้อมใจรวมพลัง ช่วยกันสร้างร่วมกับ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาด้วย จนการก่อสร้างองค์พระ ได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 มีระยะเวลาการก่อสร้างรวมประมาณ 16 ปี และวัดหน้าตักองค์พระได้ 63.05 เมตร ความสูงจากฐานองค์พระ ถึงยอดเกศา วัดได้ 95 เมตร ใช้เงินประมาณ 104,261,089.65 บาท



โครงการพระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ

พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ ก่อสร้างเป็นคานคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นชั้นๆ แบบโครงสร้างตึกสูง ๓๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนฉาบทาสีทอง ตลอดทั้งองค์

? หน้าตักกกว้าง( หัวเข่าขวา-หัวเข่าซ้าย)กว้าง ๖๒.๐๐ เมตร

? ความสูง(จากพื้นดิน-พระเกศา)สูง ๙๓.๐๐ เมตร

? ช่วงแขน(หัวไหล่-ข้อศอก)ยาว ๒๕.๐๐ เมตร

? (ข้อศอก-ข้อมือ)ยาว ๓๐.๐๐ เมตร(ข้อมือ-ปลายนิ้ว)

ยาว ๑๕.๐๐ เมตร(หน้าอก)กว้าง ๗๕.๖๐ เมตร

? ใบหน้า(ปลายคาง-หน้าผาก)สูง ๑๒.๐๐ เมตร(จมูก-หน้าผาก)สูง ๙.๕๐ เมตร(ใบหู)สูง ๔.๐๐ เมตร

? เศียร(พระศอ-พระเกศ (เลาธาตุ) )สูง ๒๖.๕๐ เมตร

? (พระศอ-พระเมาลี)สูง ๒๔.๐๐ เมตร* พระเกศสูง ๑๓.๐๐ เมตร

? * พระเมาลีสูง ๔.๗๐ เมตร

? เปลวรัศมีเม็ดพระศกสูง ๑๕.๐๐ เมตร(ประดับเม็ดพระศก ๕๐๖ เม็ด แต่ละเม็ด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๒๐ เมตร)



เริ่มวางศิลาฤกษ์ในวันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๔ ( วันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๔ ) ปีมะเมีย วางศิลาฤกษ์เวลา ๙.๐๐ น. โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณคาราม กทม. ประธานฝ่านสงฆ์ คือ หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ซึ่งเป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้างและหาทุน

สร้างเสร็จสิ้น ในวันศุกร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ( วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ) ปีกุน รวมเวลาในการก่อสร้างพระพุทธรูป ๑๖ ปี

มูลค่าในการก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น ๑๐๖ ล้านบาท จากจิตศรัทธาพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ





ประวัติความเป็นมา วัดม่วง



เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก



เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วง ขึ้นมาใหม่ได้ด้วย ผู้ที่เคยอาศัยในสมัยก่อนได้มาเกิด และจะมาช่วยท่านแล้ว และในบริเวณวัดร้างนี้จะมีศิลาขาว และศิลาแดงอยู่ คือ องค์ของหลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง นั้นเอง ซึ่งต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้



ในปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาค ทั้งเงินทำบุญ และทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง



จนกระทั้งวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีการประกาศยกฐานะให้วัดม่วง ซึ่งเคยเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์

เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีการแต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ. อ่างทอง

เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชจักรี ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดม่วง เป็นต้นมา



ในปีพ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ได้ร่วมพลังจิตอธิฐาน ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อน้อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙ และราชวงศ์จักรี มีพระนามว่า พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีหน้าตักกว้าง ๖๒ ม. สูง ๙๓ ม. มูลค่าในการก่อสร้าง ๑๐๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งร้อยหกล้านบาท )



เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ( วันแรม ๑ ค่ำา เดือน ๔ ) ปีมะเมีย เวลา ๙.๐๐ น. ได้วางศิลาฤกษ์ โดยสมเด็จพระโฆษาจารย์ วัดสุวรรณดาราม กทม. เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระครูวิบูลอาจารคุณ (หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) เป็นประธานฝ่ายดำเนินการก่อสร้าง และหาทุน และให้กฤษ์การก่อสร้างได้ดำเนินมา จนสำเร็จใน ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ( วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ) รวมเป็นเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๖ ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๕๐





วัดม่วง
บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง



โทร. 035-631556, 035-631974
E-mail :
Website :www.watmuang.com



วัดม่วงตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจาก กรุงเทพ ไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวา ผ่านหน้าเรือนจำ เจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสาย โพธิ์พระยาท่าเรือ วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เห็นพระพุทธรูปแต่ไกล

วัดไร่ หลวงพ่อผาด

วัตถุมงคล"หลวงปู่ผาด"

คอลัมน์ ซูมโฟกัส

เซียนบ้านดอน


วัดไร่ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ถึงหน้าน้ำน้ำท่วมสูงทุกปี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงปู่ผาด อภินันโท เจ้าอาวาสวัดไร่ จึงดำริสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อหาปัจจัยบูรณปฏิสังขรณ์วัด ดีดและปรับพื้นศาลาให้พ้นน้ำ

หลวงปู่ผาด ท่านเป็นพระเถราจารย์ผู้เฒ่า วัย 93 ปี ผู้ทรงอภิญญาจิตยุคปัจจุบัน สำเร็จวิชาสร้างพระพรหมเฮงกังรี สายหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จากท่านเจ้าคุณรัตนมุนี วัดชีโพน ทั้งยังสำเร็จวิชาธรรมกายชั้นสุดยอด จนได้รับการยืนยันรับรองจากปากของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ว่า "แสงแห่งพระธรรมกายนั้น ถ้าหยุดถูกที่แล้วจะสว่างไสวยิ่งกว่า พระอาทิตย์สักร้อยดวงมารวมกัน ถ้าใครยังไม่เชื่อให้ถามพระจากอ่างทององค์นี้ดู เพราะท่านสำเร็จธรรมกายชั้นสูงสุดแล้ว"

พูดพลางหลวงพ่อสดก็ชี้มือมาที่หลวงปู่ผาด ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระหนุ่มอยู่ นอกจากนี้ หลวงปู่ผาดยังเรียนวิชาสำคัญจากพระเกจิสายอ่างทอง เช่น เรียนทำผงวิเศษจาก หลวงพ่อภู วัดดอนรัก, เรียนทำเบี้ยแก้ เสกปรอท จากหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์, เรียนทำตะกรุดโบสถ์ลั่น จากหลวงปู่คำ วัดโพธิ์ปล้ำ, หลวงปู่ผาด สร้างพระพรหม ทั้งแบบเนื้อผง ซึ่งสร้างด้วยเนื้อผงพรหมประกาศิต พระพรหมของท่านเป็นพรหม ลิขิตชีวิต ผู้บูชามีแต่เจริญก้าวหน้าขึ้นทุกคน และที่เป็นเหรียญพรหมรุ่นแรก เนื้อนวโลหะ, เนื้อตะกั่ว, เนื้อฝาบาตร ซึ่งมีปาฏิหาริย์ประสบการณ์แก่ผู้บูชาปรากฏไปทั่ว เพราะท่านสร้างแบบรู้จริง ทำได้จริง จึงขลังเหนือคำบรรยาย

หลวงปู่ผาดท่านเป็นศิษย์สายหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ, ศิษย์สายหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ และพระเถราจารย์อ่างทองยุคเก่า เมื่อไม่นานนี้หลวงปู่ผาดได้สร้าง "พระพรหมบูชา" ขนาด 5 นิ้วรุ่นแรก ก้นอุดผงวิเศษและของวิเศษมากมาย สร้างจากโลหะมงคล 16 ชนิด สวยงาม เพราะปั้นโดยช่างศิลป์มือหนึ่งแห่งเพาะช่าง ที่สำคัญขลังยิ่งนักขนาดบันดาลโชคให้คนบูชาได้ลาภลอยถึง 2 ล้านบาท, ช่วยให้คนที่มีคดีที่ดินจะหลุดไปเป็นของคนอื่นชนะคดีได้ ทั้งที่เมื่อก่อนไม่มีแววว่าจะชนะ, ช่วยให้คนป่วยโรคเวร โรคกรรมหายได้ หลังจากอธิษฐานขอพร และอีกมากมายหลายสิบประสบการณ์จริงที่ถูกกล่าวถึงเรื่อยมา

นอกจากนั้นยังมี "พระกริ่งเพชรกลับ" สร้างตามสูตรนารายณ์พลิกแผ่นดิน, หิรัญยักษ์พลิกฟ้า พุทธคุณค้ำชูชีวิต กลับดวง พลิกชะตา หนุนชะตา กลับร้ายกลายเป็นดี พลิกชีวิตให้ดีขึ้น เจริญในหน้าที่การงาน

"พญาครุฑรุ่นแรก" เสริมอำนาจ วาสนา รับราชการเจริญก้าวหน้า เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ทำธุรกิจผ่านฉลุย เครื่องรางแห่งผู้นำ อยากให้ธุรกิจไปรุ่ง ต้องบูชาพญาครุฑ ด้วยเทวอำนาจ ทั้งยังมีฤทธิ์เสมอพระนารายณ์ ปีกที่ยิ่งใหญ่ ย่อมพัดพาความสำเร็จมาให้ พัดพาสิ่งเลวร้ายให้สูญสิ้น

"ตะกรุดพระลักษณ์หน้าทอง" สุดยอดเสน่ห์ เมตตามหานิยม เป็นที่หมายปองต้องใจนิยมชมชอบแก่หญิงชายทั่วไป ตำราว่าไว้อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ต่อให้เทวดา ยังเมตตาเราสิ้นแล อย่าได้ประมาทเลย

พระบรมครูฤๅษี เนื้อดินหน้าตะโพน ผง 7 ครู สวยด้วยศิลป์ชั้นสูง ขลังด้วยมวลสารมงคลก่อเกิดสวัสดิมงคล ด้วยจิตรานุภาพของหลวงปู่ผาด พระผู้เฒ่าแห่งอ่างทอง "การงานสิ่งใดไม่สำเร็จ พึงสำเร็จได้ด้วยแรงครู"

สนใจร่วมบุญบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ผาด ติดต่อได้ที่วัดไร่ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง และศูนย์พระเครื่องชั้นนำทั่วไป

นอกจากจะได้สิ่งมงคลไว้คุ้มครองตัวแล้ว ยังได้ชื่อว่าร่วมทำบุญฝากไว้ในพระศาสนาอีกด้วย

หลวงพ่อผาด อภินันโท วัดไร่ พระดีศรีอ่างทอง



--------------------------------------------------------------------------------

หลวงพ่อผาด วัดไร่ พระเถราจารย์ วัย 93 ปี ผู้ปฎิบัติวิปัสนากรรมฐานตามแนวทางของหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
และหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ มาตลอดชีวิต สมาธิจิตสูง เสกพระเครื่อง แบบเปิดโลก งานพุทธาภิเษกที่วัดช้าง
อ่างทอง หลวงพ่อผาด องค์นี้ นั่งอธิฐานจิตปลุกเสกพระนานเกือบ 3 ชั่วโมง โดยลืมตาบริกรรมพระคาถาไปเรื่อย ๆ
มีผู้ถ่ายรูปท่านไว้ พอล้างออกมา เห็นเป็นดวงไฟหลากสี ล้อมตัวท่านเต็มพระอาจารย์ละออ แจ้งข่าวว่า เมื่อเร็ว ๆนี้
นักสมาธิจิต ระดับดอกเตอร์ ฯ พร้อมคณะบุกพิสูจน์กระแสพลังงานทางจิต
ของหลวงพ่อผาดโดยขอให้ท่านเสกปฐวีธาตุ (หินแม่น้ำ)ให้ ท่านหยิบหินมาลูป มาคลำเป่าไป 3 พ่วงส่งให้
เมื่อนำหินมาถ่ายรูปด้วยแสงออร่า ปรากฏว่า หินมีแสงสีรุ้ง ปกคลุมอยู่ สว่างไปทั้งภาพ

หลวงพ่อผาด ท่านพูดถึงตะกรุด 8 บุรุษ ของท่านว่า ตะกรุดนี้ ฉันไม่ได้ทำเองคนเดียวหรอก
ฉันเชิญเสด็จพระใหญ่ พระสำคัญมาช่วยทำให้ พวกพรหม เทวดา มาทั้งผู้หญิง ผู้ชาย เต็มไปหมด
เขาเห็นว่าพระแก่เชิญ เลยมาทำให้เต็มที่ สำคัญนะ ตะกรุดนี่ เก็บไว้ให้ดี ไม่มีอีกแล้ว ทำไม่ไหวแล้ว
พระดีศรีอ่างทอง ศิษย์หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ รูปเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ มีพลานามัยแข็งแรง
ผู้หยั่งรู้วาระจิตคน เป็นอาจารย์องค์หนึ่งของ " หลวงพ่อทรง " วัดศาลาดิน


หลวงพ่อผาด วัดไร่ ศิษย์เจ้าคุณพระราชปัญญามุนี วัดชีโพน อยุธยา ผู้ห่างพ้นกิเลศทั้งปวง ไม่ยึดติด
ไม่สะสม จำวัดกลางศาลาใหญ่ใกล้เมรุเผาศพ เมื่อคราวนำท่วมอ่างทองครั้งใหญ่ นำเอ่อล้นท่วมทุกที่แต่ที่ศาลาใหญ่
ที่ท่านจำวัด ซึ่งสูงกว่าพื้นถนนไม่ถึงฟุต สายนำกลับวกไปไม่ท่วมถึง
แม้วัย 91 ปียังมีความแจ่มใส มีอารมณืเยือกเย็น แข็งแรง เดินเหินได้คล่องแคล่ว การนั่งอธิฐานจิต
วัตถุมงคลของท่านสุดแปลก เพราะท่านนั่งลืมตาเสก ว่าคาถาเป่าไปเรื่อย ๆ ผู้รู้บอกว่าการลืมตาเสกเป็นการเสกแบบเปิดโลก
แบบเดียวกับหลวงปู่ดู่ วัดสะแก



ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ถือว่า พระพรหมเป็นมหาเทพแห่งการสร้างสรรค์ทั้งปวง
พระนารายณ์เป็นมหาเทพแห่งการปราบปราม ส่วนพระศิวะ หรือพระอิศวร เป็นมหาเทพแห่งการทำลาย

ที่ว่าพระพรหมเป็นมหาเทพแห่งการสร้างสรรค์ทั้งปวงนั้น เชื่อกันว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก
สร้างมนุษย์ พร้อมกับสร้างสรรพสิ่งต่างๆ เป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ ทุกนาม จะให้เจริญขึ้นหรือเลวลง
จะให้ชีวิตราบรื่น พ้นภัย หรือพบเจอกับอุปสรรคขวากหนาม ก็ด้วยพรหมลิขิตทั้งสิ้น ตำราไสยเวทของไทย
จึงนับถือพระพรหมมาก และยกย่องให้เป็นมหาเทพชั้นครูของทุกเรื่อง เช่น วิชาดูดวงชะตาของมนุษย์
หรือ ตำราพรหมชาติ วิชาสร้างบ้าน แปลงเมืองต่างๆ




เอ่ยชื่อ "หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ" พระเกจิอาจารย์ยุคเก่า
ผู้เป็นเจ้าของเหรียญปั๊มราคาแพงที่สุดของเมืองไทย เชื่อได้ว่านักนิยมพระทุกท่านต้องรู้จักดี
หลวงปู่กลั่นท่านสำเร็จวิชาการสร้างพระพรหม และได้ถ่ายทอดให้ศิษย์ทั้งพระและฆราวาส
ในสายวิชาท่านจนหมดสิ้น

ต่อมาศิษย์สายนี้ก็สร้างพระพรหมได้ขลังและมีพุทธคุณสูงเป็นที่นิยมของคนทั่วไป
เช่น อาจารย์เฮง ไพลวัลย์ ศิษย์ฆราวาสของหลวงพ่อกลั่น ที่เรียกกันว่าอาจารย์เฮง เรือลอย
เพราะท่านร้อนวิชาจนไม่อาจมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งได้ ต้องผูกเรือลอยลำอยู่หน้าท่าน้ำวัดสะแก
หรือแม้แต่หลวงปู่สี และหลวงปู่ดู่ วัดสะแก ก็สำเร็จวิชาพรหมเช่นกัน



"พระพรหม" ของสำนักวัดสะแก เชื่อกันว่ามีพุทธคุณ แก้กรรมหนักทั้งปวงได้ หนุนชีวิต พลิกดวงชะตา
กลับร้ายกลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัยและเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพราะพระพรหมเป็นผู้สร้าง
เป็นผู้ลิขิตทางเดินชีวิตของคนเรานั่นเอง

"หลวงปู่ผาด อภินันโท" แห่งวัดไร่ ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ อ่างทอง อายุ 92 ปี 72 พรรษา
พระวิปัสนาชื่อดังแห่งอ่างทอง เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระราชปัญญามุนี (รัตน์ อตฺถทสสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดชีโพน
และเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งท่านเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ
จึงได้รับถ่ายทอดวิชาพรหมลิขิตหรือพรหมสร้างโลกมาจากหลวงพ่อกลั่นจนหมดสิ้น

หลวงปู่กลั่นก็ได้ถ่ายทอดวิชาพรหมลิขิตให้กับหลวงปู่ผาดเช่นกัน กล่าวสำหรับหลวงปู่ผาดนั้น
นอกจากท่านจะเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติแล้ว ท่านยังเป็นศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีตอีกหลายองค์
เช่น หลวงพ่อชวน วัดยางมณี เรียนวิชาเพชรหลีก เพชรกลับ, ศิษย์หลวงพ่อปลื้ม วัดช้าง
เรียนวิชาผูกผง และลบถมผงลอดกระดาน, ศิษย์หลวงพ่อเผือด วัดสำโรง สุดยอดพระวิปัสสนา
พระอรหันต์ อัฐิเป็นแก้วใส และศิษย์เรียนธรรมกายจาก หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ในปัจจุบัน "หลวงพ่อผาด" ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ มีคุณธรรมสูง
ปลุกเสกวัตถุมงคล แบบลืมตาเสก (เรียกว่าเสกแบบเปิดโลก) คือเปิดหนทางทุกอย่าง เปิดโภคทรัพย์ เปิดทางชีวิต )
มีอภิญญาจิต คุณวิเศษ ผู้หยั่งรู้วาระจิตคน เล่ากันว่า แม้แต่เทวดา ยังมาฝากตัวเป็นศิษย์และกระแสจิตท่าน
เทียบเท่าท่านเจ้าคุณนรฯ พระอรหันต์กลางกรุงแห่งวัดเทพศิรินทร์

เนื่องจากวัดไร่ จะต้องซ่อมแซมเสนาสนะ จะต้องใช้ปัจจัยอีกมาก ท่านจึงได้สร้างพระพรหมขึ้นเป็นครั้งแรก
ตามตำราหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ฝังเกศาของท่าน ที่ขาวใสดุจแก้ว ต่างจากเส้นผมขาวของคนแก่ทั่วไป
ฝังเม็ดพระธาตุ และพลอยเสก รวมทั้งตะกรุดมหาบุรุษ 8 จำพวก ตะกรุดเปิดสมอง(ปัญญาดี)
สำหรับเด็กนักเรียน ผ้ายันต์นารายณ์ทรงเมือง และผ้ายันต์มหานิยม

สำหรับพระพรหมของท่าน เชื่อกันว่า บูชาแล้ว ดุจมี พระพรหม ประจำตัว
ย่อมได้รับความเจริญก้าวหน้า เหนือกว่าผู้อื่นเสมอๆ ทำการงานสิ่งใด ขอพรพระพรหมที่คอ
ย่อมประสบผลสำเร็จได้โดยง่าย หนุนดวงชะตา ให้สูงส่งตลอดกาล ปิดประตูวิบัติ ขัดสนทั้งปวง
ถือเป็นวัตถุมงคลที่ดี ควรค่าแก่การบูชาอีกสำนักหนึ่ง




รายการวัตถุมงคลมีดังนี้

1. พระพรหมลิขิต ( พรหมให้พร )





พระพรหมลิขิตของหลวงพ่อผาดสร้างตามตำราพระพรหมสายวัดพระญาติทุกขั้นตอน มีพุทธคุณสูง
มีเทวดารักษา ต้านและรีดรอนกรรมเก่าได้ส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้าได้เป็นใหญ่และรำรวย กิจการต่าง ๆ
ได้ก้าวหน้า ปัญหาต่างๆไม่กล้าเกิด เพราะท่านเป็นผู้สร้างผู้ลิขิต
พระพรหมของหลวงพ่อผาดด้านหลังมีทั้งฝังพระธาตุและฝังพลอยเสก และทุกองค์ผสมเส้นเกศาของหลวงพ่อผาด

2. ตะกรุดมหาบุรุษ 8 จำพวก



สิทธิการิยะ ตำราการสร้างตะกรุดมหาบุรุษ 8 จำพวก ได้รวบรวมมหาบุรุษ ผู้เป็นเอกคือเหนือคนทั้งหลาย
ในด้านมงคลต่าง ๆ ไว้ถึง 8 คน 8 ประเภท ก่อให้เกิด ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และมหาโภคสทบัติ
แก่ผู้บูชาอย่างน่าอัศจรรย์ ผู้ใดมีตะกรุดแล้วให้หัดหมั่นปลุกด้วยคาถา " ทุ สะ มะ นิ "
อยู่เป็นประจำจะมีพระคุ้มครอง มีเทวดารักษา

3. ผ้ายันต์นารายณืทรงเมือง



สุดยอดพระยันต์วิเศษ ค่าควรเมือง ตามตำราเก่าร่วม 100 ปี ของหลวงพ่อผาด พระยันต์นารายณ์ทรงเมืองนิยมสร้างเพื่อเฉลิมยศ ตำแหน่ง ให้เจ้าพระยา ขุนท้าว ขุนนาง ในสมัยโบราณ นำพาให้ผู้บูชาได้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อีกทั้งยังเป็นพระยันต์ที่ได้รวบรวมอักขระเลขยันต์อันเป็นมงคลจากทั่งทั้งจักรวาล มารวมอยู่ในพระยันต์จนหมดสิ้น

4. ตะกรุดเปิดสมอง





ใครจะรู้เลยว่าตะกรุดดอกเล็ก ๆ ของหลวงพ่อผาดจะช่วยให้เด็กเรียนเก่ง มีสติปัญญาดี ท่านสร้างและเสกตะกรุดเปิดสมองนี้ด้วย วิปัสสนาญาณจิต ซึ่งเป็นตัวประหารความโง่ ความเขลา ความไม่รู้ ความด้อยปัญญา เมื่อบูชาติดตัวแล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง ไม่ปวดหัว เวียนหัว จดจำอะไรได้แม่นยำขึ้น มีความจำดีมาก คุณวิเศษของตะกรุดเปิดสมองนี้จึงยากที่จะหาพระเครื่องของสำนักอื่นเทียบได้

5. ผ้ายันต์มหานิยม มหาเสน่ห์ เสริมดวง ( หนุมานโลม )



ผ้ายันต์ที่มีอิทธิฤทธิ์ด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม จากตำราเก่าคู่วัดไร่ ที่มีครูแรง ใช้ได้ผลจริง และเห็นผลเร็ว
ผ้ายันต์นี้ได้ผูกหุ่นรูปหนุมาน อันเป็นทหารเอกของพระราม มีฤทธิ์ มีเดช ปราบได้ถึง 3 โลกและยังเป็นอมตะ
คือ ไม่ตาย เจริญรุ่งเรือง กลับดวงเรื่องไม่ดี ดวงร้ายให้กลายเป็นดี ดวงดีให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
http://www.liveinbangkok.com/forum/index.php?topic=4837.0

วัดโพธิ์ปล้ำ หลวงพ่อคำ

ประวัติหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ
พระครูวิตถารสมณกิจ (คำ ปัญญาสาโร) วัดโพธิ์ปล้ำ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ท่านเกิดในปี พ.ศ.2432 โยมบิดาของท่านชื่อ เส็ง โยมมารดาชื่อ ไท หลวงพ่อคำท่านเป็นคนปากคลองวัดโพธิ์ เมื่อท่านได้มีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์นี่เองครับ โดยมีพระญาณไตรโลก (อาจ) วัดศาลาปูน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิญาณนุโยค วัดกษัตราธิราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุปัชฌาย์จั่น วัดทำนบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชแล้วท่านก็อยู่ที่วัดโพธิ์ตลอด หลวงพ่อคำท่านศึกษาวิชาอาคมจากสมุดข่อย ซึ่งอยู่ภายในโพรงโพธิ์ที่วัดนั่นเอง ทางบ้านของหลวงพ่อคำเป็นคนมีฐานะดี มีที่นาอยู่ร้อยกว่าไร่ และท่านเป็นบุตรคนเดียว หลังจากโยมทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว ท่านจึงได้ขายที่นาและนำเงินทั้งหมดมาสร้างพระอุโบสถ พระประธาน กุฏิสงฆ์ ฯลฯ และยกที่ดินที่เหลือให้เป็นของวัดทั้งหมด ตอนที่ท่านมรณภาพไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวหรืออยู่ในกุฏิเลย

พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ ท่านไปมาหาสู่กับหลวงพ่อคำเสมอๆ เช่น หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ และท่านเจ้าคุณสุธรรมธีรคุณ วัดสระเกศ เป็นต้น ทั้ง 4 รูปนี้มีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อมาก จะไปพักอยู่ที่วัดโพธิ์ปล้ำเสมอ โดยเฉพาะหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์จะไปอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อคำท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2503 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

ในสมัยที่หลวงพ่อคำยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ด้วยกัน เช่น สมเด็จหู เหรียญทำบุญอายุครบ 60 ปี สมเด็จปรกโพธิ์เก้าชั้น พระเนื้อว่านหลายพิมพ์ ผ้ายันต์ ตะกรุด รูปถ่าย และเบี้ยแก้ ฯลฯ เหรียญหล่อของหลวงพ่อคำท่านทำเป็นแบบสองหน้า ด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระสงฆ์นั่งสมาธิบนฐานขาโต๊ะ ด้านล่างสุดมีอักษรภาษาไทย อ่านได้ไม่ชัดเจน มีบางท่านว่าเขียนว่า "สมเด็จ" สันนิษฐานว่าท่านสร้างเป็นรูปพระมหาพุทธพิมพ์ และรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี จึงเรียกเหรียญนี้กันว่าเหรียญ "สมเด็จ" เหรียญนี้เป็นแบบหูในตัว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมีหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เป็นประธานในพิธี และยังมีหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ร่วมปลุกเสกด้วย เหรียญหล่อสมเด็จหู จึงเป็นเหรียญที่ชาวอ่างทองนิยมกันมากเหรียญหนึ่ง ในด้านพุทธคุณนั้นดีเยี่ยมในทุกๆ ด้าน สนนราคาก็อยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ ปัจจุบันค่อนข้างหายากพอสมควรครับ ในวันนี้ก็ได้นำรูปมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ


แทน ท่าพระจันทร์
ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOVEl5TURrMU1nPT0
=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09TMHdPUzB5TWc9PQ==

วัดบางจักร หลวงปู่หรุ่ม

หลวงพ่อหรุ่ม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงตาจันทร์ หรือ พระครูวิเศษสังฆการ วัดบางจักร หลวงพ่อหรุ่มท่านมีอายุที่ยืนมากครับผม เกินร้อยปีครับ โดยได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ

วัดศาลาดิน หลวงพ่อทรง

หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี วัดศาลาดิน (วัดมอญ) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ๏
อัตโนประวัติ “พระครูสุภัทรธรรมโสภณ” หรือ “หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี” มีนามเดิมว่า ทรง วารีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2466 ตรงกับวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน ณ บ้านม่วงเตี้ย ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกอง และนางจัน วารีรักษ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย
๏ การศึกษาเบื้องต้นและการอุปสมบท ช่วงวัยเยาว์ ได้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดยางมณี (ชวนประชาสรรค์) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาได้เข้ารับราชการเพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยยังคงช่วยเหลือครอบครัวหาเลี้ยงชีพ ประกอบกิจการค้าขาย เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2486 ณ พัทธสีมาวัดยางมณี ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โดยมีพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อชวน) วัดยางมณี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการสุวรรณ วัดไร่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดตูม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและสรรพวิชาอาคม หลังอุปสมบท ท่านได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อชวนระยะหนึ่ง จากนั้น ได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดไร่และวัดศาลาดิน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย สามารถสวดพระปาติโมกข์ได้อย่างคล่องแคล่ว ขณะเดียวกัน ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมจากหลวงพ่อชวน วัดยางมณี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์, หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ ศึกษาโหราศาสตร์กับหลวงพ่อเข็ม วัดข่อย พระเกจิดังแห่งยุค ได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชาให้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ท่านได้เรียนวิทยาคมจากตำราโบราณที่รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ จนเชี่ยวชาญสามารถเขียนอ่านอักษรขอมได้ หลวงพ่อทรง เคร่งครัดปฏิบัติและชอบการปลีกวิเวก หมั่นฝึกฝนปฏิบัติวิชาอาคมต่างๆ ตามที่ได้ร่ำเรียนและได้รับการถ่ายทอดมา จนมีความชำนาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีพลังสมาธิญาณอย่างน่าอัศจรรย์ หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต มีเรื่องเล่าขานกันว่า เมื่อปี พ.ศ.2513 ท่านได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตอุโบสถ จัดสร้างเหรียญเสมาเป็นรูปท่านครึ่งองค์ เพื่อมอบให้สาธุชนเป็นที่ระลึก โดยนิมนต์หลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต วัดดอนไร่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี และพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมรูปอื่นๆ มาร่วมนั่งปลุกเสก หลังจากพระเกจิผู้ทรงวิทยาคม คลายพลังสมาธิญาณและผ่อนคลายอิริยาบถ หลวงพ่อทรงยังคงนั่งนิ่ง ส่งพลังสมาธิญาณ กระทั่งเหรียญเสมาที่อยู่ในบาตร บินลอยวนไปมา ส่งเสียงกระทบฝาบาตรอย่างน่าอัศจรรย์ จนหลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต วัดดอนไร่ เปรยว่า “พอแล้วท่านทรง จะปลุกเสกไปถึงไหน เดี๋ยวเหรียญก็ได้แตกป่นกันหมดพอดี” หลวงพ่อทรง จึงผ่อนคลายสมาธิญาณ คณะศิษยานุศิษย์ ตั้งสมญานามเหรียญรุ่นนี้ว่า “รุ่นเหรียญบิน” ตราบจนปัจจุบัน หลวงพ่อทรง ได้รับการยอมรับและศรัทธาของศิษย์ทุกระดับชั้น เชื่อถือกันว่าท่านมีคาถาอาคมทรงพุทธคุณครอบจักรวาล โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม ความเจริญรุ่งเรือง และด้านมหาอำนาจปกป้องผองภัยสารพัด สิ่งมหัศจรรย์ที่บังเกิดทั้งปวง ศิษยานุศิษย์ต่างประจักษ์ สามารถให้คำตอบได้เป็นอย่างดี
๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2513 ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศาลาดิน (วัดมอญ) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง พ.ศ.2525 ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ และเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2547 ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ ๏ ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ “พระครูสุภัทรธรรมโสภณ”
๏ ผลงานด้านการพัฒนา หลวงพ่อทรง ได้ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ เมรุ ห้องน้ำ ห้องสุขา บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิม ให้เกิดความมั่นคงถาวร ทั้งหมดล้วนเกิดจากบารมีของหลวงพ่อทรงอย่างแท้จริง หลวงพ่อทรง เป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสของจังหวัดอ่างทอง มักได้รับกิจนิมนต์จากวัดวาอารามทั่วประเทศ ให้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆ ซึ่งท่านมิเคยขัดข้อง หากไม่ติดธุระด้านศาสนาหรือกิจธุระส่วนตัวเสียก่อน
๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมาก เนื่องจากมีพุทธคุณครอบจักรวาล โดดเด่นในหลากหลายด้าน ที่เสาะหากันอยู่ขณะนี้ ได้แก่ เหรียญใบเสมา รุ่นเหรียญบิน ปี 2513, เหรียญบาตรน้ำมนต์, พระกริ่งบาเก็ง, สมเด็จยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ เป็นต้น วัตถุมงคลหลวงพ่อทรง มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี บังเกิดแก่บรรดาสาธุชน จนได้รับสมญานามจากคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย” ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มแข็งด้วยอำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ” รวมทั้ง ท่านจะกล่าวสอนอยู่เสมอว่า “การทำจิตใจให้สงบ รู้จักปล่อยวางในสิ่งต่างๆ อย่าไปยึดติดกับสิ่งต่างๆ มากเกินไป หมั่นสวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิระลึกถึงปฏิบัติในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคำสั่งสอนของท่านเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด หาคำสอนใดมาเปรียบเทียบมิได้เลยทีเดียว และการที่เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นอะไรที่ประเสริฐที่สุดแล้วในชาตินี้” หลวงพ่อทรง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศาลาดิน (วัดมอญ) ได้รับการยกย่องว่าเป็นเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า เป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคกลาง แต่การเข้ากราบไหว้ขอพรจากท่าน มิใช่เรื่องยากเย็น ทุกคนมีโอกาสเสมอเหมือนกันหมด ไม่มีผู้ใดกีดกัน ท่านมักจะนำวิชาความรู้ด้านวิทยาคมเป็นกุศโลบายในการอบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนทั่วไป ให้ยึดหลักธรรมคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นวิถีสำคัญในการประพฤติปฏิบัติตน ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถ้ามีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ไหน จะต้องเห็นหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน นั่งปรกปลุกเสกกับพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัย ความเป็นเอกอุด้านไสยเวทวิทยาคมไม่แตกต่างกัน หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี ๏ การมรณภาพ อย่างไรก็ดี ด้วยสังขาร คือ อนิจจัง เป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ครั้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 เวลาประมาณ 21.00 น. หลวงพ่อมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ หายใจขัด เนื่องจากมีกิจนิมนต์มาก เมื่อลูกศิษย์เห็นว่าอาการไม่ดี จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง แพทย์ได้ทำการรักษา แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ ในที่สุด เมื่อเวลา 22.50 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 ท่านได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ หลังจากเข้ารับการรักษาอาการท่อปัสสาวะอักเสบ มาก่อนหน้านี้ สิริอายุรวม 83 พรรษา 62 ท่ามกลางความเศร้าสลดและความอาลัยเป็นอย่างยิ่งของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป หลวงพ่อทรง ท่านเป็นพระสงฆ์สุปฏิปันโนอย่างแท้จริง แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ ท่านได้ละสังขารตามกฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ถือว่าวงการสงฆ์ต้องสูญเสียพระเถระรูปสำคัญ ผู้บำเพ็ญคุณูปการต่อชาวเมืองอ่างทอง ด้วยความอุตสาหวิริยะมาอย่างยาวนาน เหลือทิ้งไว้แต่ผลงานอันทรงคุณค่าที่อุทิศให้แด่พระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำไว้เบื้องหลัง ทั้งนี้ ทางคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ได้จัดงานบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม และตั้งศพให้ญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบไหว้ เป็นเวลา 7 วัน ณ วัดศาลาดิน (วัดมอญ) จนกว่าจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป
คัดลอกมาจาก :: หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 1 คอลัมน์ มงคลข่าวสด วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 5988

http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1887

วัดกำแพงมณี หลวงพ่อแก่น ละครแก้บน

วัดกำแพงมณี (หลวงพ่อแก่น)


ข้อมูลจาก http://sites.google.com/site/somchai379/hlwng-phx-kaen
วัดกำแพงมณี (หลวงพ่อแก่น) เลขที่ ๗๖ หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ(เดิมใช้ วิเศษไชยชาญ) จังหวัดอ่างทอง โทร.๐๓๕ ๖๒๙๓๖๒ สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ
เมื่อประมาณปี ๒๔๓๖ วัดนี้ยังคงมีสภาพเป็นเพียง โคกวัดร้าง บนกลางโคกร้าง มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกเศษ
ปางสมาธิและกล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง พระพุทธรูปองค์นี้ โครงสร้างทำด้วยไม้หรือเป็นพระแกะสลักจากไม้
ปูนที่ปั้นไว้กระเทาะออก เนื่องจากความเก่าแก่ มองเห็นแต่แก่นไม้ พุทธศาสนิกชน จึงเรียกท่านว่า “หลวงพ่อแก่น” ตามลักษณะที่เห็น ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจและเป็นที่สักการบูชา
เคารพกราบไหว้ของประชาชนทั่วไปไม่ว่าใกล้หรือไกล ตั้งแต่เดิมมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นับถือท่านว่า ท่านเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีความอัศจรรย์เป็นพิเศษ
ประกอบด้วยอภินิหาร และสามารถดลบันดาลช่วยเหลือได้หลายอย่างหลายประการ เป็นต้นว่า ถ้าผู้ใดเจ็บไข้ป่วยหนัก ๆ อาการเพียบเป็นที่หนักใจหมอหนักใจญาติ เมื่ออาราธนา
ให้หลวงพ่อแก่นช่วยบำบัดปัดเป่า ก็ทุเลาเบาคลาย กลับรอดไปได้เป็นจำนวนมาก ผู้ใดมีความทุกข์ร้อน หรือเศร้าโศกเสียใจ เป็นที่บีบคั้นทรมานมาก ๆ ไปหาหลวงพ่อแก่น อาบน้ำมนต์ของท่านบ้าง
รับประทานน้ำมนต์ของท่านบ้าง ก็มักสร่างเซาบรรเทาลงทัน ตาเห็น จิตใจกลับร่าเริงเบิกบาน สามารถประกอบสัมมาอาชีพของตนต่อไปได้อย่างปกติ และประการสำคัญ ท่านจะช่วยปกป้องอันตรายให้แคล้วคลาด


เด็กชายจ่อย
หลังจากเกิดเหตุการณ์ประหลาดของเด็กชายพิฆเนศ หรือน้องจ่อย คล้ายทอง อายุ 10 ปี จังหวัดอ่างทอง ที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว และเข้ารับการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลเด็ก และเสียชีวิตไปแล้ว14 วันแล้วฟื้นขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ วันนี้แม่ของเด็กได้พาลูกชายไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิขอผ่อนการแก้บน บอกเงินไม่มี

นางสมคิด คล้ายทอง อายุ 48 ปี แม่ของน้องจ่อย ได้พาบุตรชายไปยังวัดมงคลธรรมนิมิตร หรือวัดดอนรัก เพื่อให้เจ้าอาวาสวัดทำการสะเดาะเคราะห์ ก่อนที่จะเดินทางมายังวัดดอนกร่าง เพื่อทำการบอกเล่าหลวงพ่อเกลี้ยง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่บนไว้ตอนลูกชายไม่หายใจ ก่อนจะเสริมดวงชะตากับพระปลัดวิชาญ เตชธัมโม เจ้าอาวาสวัดดอนกร่าง

นางสมคิด กล่าวว่ามีฐานะยากจน มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ตอนนี้รู้สึกกังวลกับเรื่องที่ได้บนไว้ตอนที่ลูกป่วยและไม่หายใจ ซึ่งตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรขอให้ลูกฟื้นขึ้นมาจึงบนไว้หลายที่ โดยเฉพาะที่วัดดอนกร่างได้บนละครไว้ 15 คืน เป็นเงิน 150,000 บาท นอกจากนั้นแม่ของตนเองได้ไปบนให้หลาน เป็นหัวหมูอีก 50 หัว ที่หลวงพ่อแก่นวัดกำแพงมณี ที่ อ.วิเศษชัยชาญ ซึ่งตอนนี้ตนลำบากมาก ไม่มีเงินเลย หากไม่รีบแก้บนกลัวลูกจะมีอันเป็นไป วันนี้จึงพาลูกไปกราบไว้สิ่งศักดิ์เพื่อบอกกกล่าวว่าไม่ลืม แต่ขอให้พร้อมก่อน จึงจะมาแก้บน ซึ่งตอนนี้กำลังจะเปลี่ยนชื่อลูกจากพิฆเนศ เป็นบุญมาก เพราะมีพระทักมาว่า ชื่อเดิมเป็นของชั้นสูงเป็นชื่อของหัวโขน หัวครู ไม่ดีที่จะมาตั้งเป็นชื่อ

วัดตลาดใหม่ หลวงพ่อซำ

http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=118223
หลวงพ่อซำ อินทสุวรรณโณ
นามสกุลเดิม ลีสุวรรณ์ เป็นบุตรของนายจีนซึง กับนางอินท์ แซ่ลี้ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน 3 คน หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2415 ที่บ้านหลักขอน ตำบลห้วยคันเหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และได้อุปสมบทที่วัดตลาดใหม่ ตอนอายุได้ 23 ปี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2438 โดยมีพระอธิการดี วัดฝาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแป้น วัดสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จันทร์ วัดท่าสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่อุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเคารพในหลวงปู่คุ่ย พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมอีกทั้งยังเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงวิทยาคมเลิศล้ำในทุกๆ ด้าน จึงขอจำพรรษารับใช้หลวงปู่คุ่ย จนมีความผูกพันและกลายเป็นศิษย์รักในเวลาต่อมา จนได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ครั้นจำพรรษาได้เพียง 2 พรรษา หลวงปู่คุ่ยเห็นแววใฝ่รู้อีกทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร จึงส่งหลวงพ่อซำให้มาศึกษาหาความรู้ร่ำเรียนภาษาบาลี ศึกษาพระคัมภีร์พระธรรมวินัยอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. จึงได้พบและรู้จักกับพระมหาอยู่ ญาโณทัย (สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทัย วัดสระเกศวรมหาวิหาร) จนเป็นสหธรรมิกกันตั้งแต่นั้นมา

หลวงพ่อซำเรียนอยู่ที่วัดระฆังฯ ได้เพียง 1 พรรษา ท่านก็ย้ายมาที่วัดสร้อยทอง จนถึงปีพ.ศ.2442 ก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเป็นห่วงโยมบิดา-มารดา และต้องการกลับมาดูแลรับใช้หลวงปู่คุ่ย สำหรับสรรพวิชาอาคมต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่คุ่ยจนหมดสิ้นทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ หลวงพ่อซำชอบมาก เพราะเคยได้รับรู้ถึงพลังพุทธาคม ได้ประจักษ์แก่สายตาท่านเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ท่านจึงสนใจเป็นพิเศษ อีกทั้งด้านยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณและดูแลงานแทนหลวงปู่คุ่ยได้ จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาเมื่อถึงปีพ.ศ.2446 หลวงปู่คุˆยมรณภาพลงด้วยโรคชรา ชาวบ้านจึงพากันนิมนต์หลวงพ่อซำ เป็นเจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่สืบต่อมา

หลวงพ่อซำท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลเมื่อปีพ.ศ.2480 เรื่อยมานับว่าเป็นของดีที่มีประสบการณ์มากมาย ไมว่าจะเป็นเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโทนคู่ใจ และครั้งหลังสุดเหรียญรุ่นแรกสร้างปีพ.ศ.2506 การสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ของหลวงพ่อซำ หลวงพ่อท่านจะทำการสร้างในวันอาทิตย์ วันอังคาร และวันเสาร์ หากในสามวันนี้วันใดที่ตรงกับวันพระ หลวงพ่อท่านจะหยุดสร้างหนึ่งวัน สรุปว่าในวันพระหลวงพ่อท่านไม่สร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์แน่นอน และการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ในแต่ละครั้งหลวงพ่อท่านสร้างเพียงจำนวนกำลังวันที่สร้างในวันนั้น เช่น วันอาทิตย์มีกำลังคือ 6 ท่านก็สร้างเพียง 6 ตัว วันอังคารมีกำลังคือ 8 ท่านก็สร้างเพียง 8 ตัวและวันเสาร์มีกำลังคือ 10 ท่านก็สร้างเพียง 10 ตัว ในแต่ละครั้งที่หลวงพ่อท่านทำการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์นั้น ท่านจะประกอบพิธีให้แล้วเสร็จในคราวเดียว

กรรมวิธีในการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ของหลวงพ่อซำนั้น จากข้อมูลพระอาจารย์สมุห์ประเมษฐ์ เจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่องค์ปัจจุบัน หลวงพ่อซำท่านจะประกอบพิธีการทำเบี้ยแก้วอาถรรพณ์ ท่านจะตั้งศาลเพียงตาบูชาบรมครู ก่อนที่ท่านจะลงมือสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ทุกครั้ง ท่านจะนำเบี้ย (หอยพู) ตามจำนวนกำลังวันที่สร้างมาใส่พานวางไว้พร้อมกับปรอทและชันโรงตั้งในพิธีตอนบวงสรวงอัญเชิญบรมครูให้มาสถิตประสิทธิ์ประสาทวิชาและเพื่อขออนุญาตในการประกอบพิธีสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชันโรงนั้นท่านจะใช้แต่ชันโรงที่มาทำรังอยู่ในต้นคูน เมื่อประกอบพิธีไหว้ครูเสร็จหลวงพ่อซำท่านจะหยิบเบี้ยขึ้นมาแล้วเทปรอทลงอุ้งมือจากนั้นหลวงพ่อจะบริกรรมคาถาเรียกแร่แปรธาตุ สักพักหนึ่งจึงเทปรอทลงในตัวเบี้ย จากนั้นก็นำชันโรงที่เตรียมไว้มาอุดปิดปากเบี้ย เพื่อป้องกันปรอทไหลออกจากตัวเบี้ย และได้นำแผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมมาปิดทับชันโรงอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์และง่ายต่อการจดจำ ซึ่งเบี้ยแก้ที่มีลักษณะนี้เรียกได้ว่าเป็นเบี้ยแก้ที่หลวงพ่อซำท่านสร้างไว้ในยุคต้นๆ (เมื่อปีพ.ศ.2480-2485)

ตอนการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ของหลวงพ่อซำ ท่านจะสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์เท่ากับกำลังวันดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนแรก เมื่อสร้างครบตามจำนวนหลวงพ่อท่านจะนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก เพื่อประจุพลังอาคมเข้าไปในตัวเบี้ยแก้อาถรรพณ์สำทับอีกชั้นหนึ่ง ท่านนั่งนานตลอดวันภายในพระอุโบสถ (ท่านนั่งปรกหลังจากฉันเพลแล้วไปจนถึงตอนทำวัตรเย็น) จึงถือว่าสำเร็จเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน

สำหรับพระคาถาที่หลวงพ่อท่านบริกรรมในการอุดชันโรงและปิดแผ่นฟอยล์นั้น ท่านมักจะใช้บทพระคาถามงคลนิมิต โดยบริกรรมพระคาถาว่า

"อะวิชา ปัจจะยา ปิดจะยา ปัจจะยา

อะวิชา ปัดจะยา ปัจจะยา ปิดจะยา

อะวิชา ปัจจะยา อุอะมะตัง พุทธังอัดธะอุด"

หลวงพ่อท่านเป็นพระเถราจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีอายุยืน ท่านเกิดวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2415 ถ้านับพระเกจิอาจารย์ที่สร้างเบี้ยแก้สายอ่างทองแล้วถือว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2509 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 71

สำหรับประสบการณ์ที่เล่าโดยคุณบุญส่ง รอดเสียงล้ำ ได้เล่าให้ฟังว่า ลูกชายของแกได้ขับรถจักรยานยนต์แหกโค้งคว่ำได้รับบาดเจ็บ ขณะขับรถซึ่งเป็นถนนลูกรัง ปรากฏว่าบริเวณนั้นเป็นโค้งหักศอก เวลาประมาณบ่ายสี่โมงเย็น ด้วยความรีบเร่งขับรถด้วยความเร็วสูง ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำศีรษะฟาดพื้นถนน โดยที่ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อก ผมขาดเป็นกระจุก แต่ที่ศีรษะไม่เป็นอะไร ส่วนบริเวณหัวเข่ากลับเป็นแผลยาว 3 นิ้ว ผู้ประสบเหตุช่วยนำส่งสถานีอนามัยโรงช้าง ขณะที่เจ้าหน้าที่อนามัยกำลังทำการเย็บแผลที่หัวเข่าปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเย็บแผลได้ เข็มแทงไม่เข้า เข็มหักถึง 8 เล่ม คุณลุงคนหนึ่งจึงสงสัยว่าพ่อหนุ่มคนนี้คงจะมีของดี จึงเอ่ยปากว่ามีอะไรติดตัว ให้เอาออกเสียก่อน ปรากฏว่ามีเหรียญหลวงพ่อซำ ปี"06 และเบี้ยแก้อาถรรพณ์ของหลวงพ่อซำ จึงให้เอาออกเสียก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่อนามัยจึงสามารถทำการเย็บแผลได้

คุณตาหวล ระรวยรื่น บ้านอยู่ตลาดใหม่ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อซำ ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อปีพ.ศ.2490 ขณะนั้นยังมีโจรชุกชุมมาก ทางการจึงส่งเจ้าหน้าที่กองปราบฝีมือดีคือ ผู้กองยอดยิ่ง พร้อมด้วยหน่วยกองปราบมาตั้งกองอำนวยการที่วัดนางใน ตำบลศาลเจ้าโรงทอง ตอนนั้นเสือดำ เสื้อฝ้ายออกอาละวาดหนัก ออกจี้ปล้นไม่เว้นแต่ละวัน ในวันเกิดเหตุหน่วยกองปราบได้ออกตรวจจับโจรผู้ร้ายมาถึงวัดตลาดใหม่ช่วงตอนประมาณ 5 โมงเย็น ปรากฏมีกระยางฝูงใหญ่จับอยู่บนยอดมะขามยักษ์คลุมกุฏิหลวงพ่อซำ จึงด้อมๆ มองๆ ทำท่าจะยิงนก พอดีหลวงพ่อเห็นเข้าจึงขอบิณฑบาต แต่เจ้าหน้าที่คนนั้นไม่ได้สนใจจึงยิงนก ปรากฏว่ายิงไม่ออก ต่างก็พากันมากราบขอขมาหลวงพ่อและกราบขอวัตถุมงคลติดตัว แต่หลวงพ่อบอกว่าท่านไม่ได้ออกของ

อีกเรื่องหนึ่งที่คุณตาหวลเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนนั้นจอมพลป.พิบูลสงคราม ท่านได้ยินกิตติศัพท์และจริยวัตรของหลวงพ่อซำ จึงมีความเคารพศรัทธาเลื่อมใส ท่านได้มอบหมายให้นายทหารคนสนิทมานิมนต์หลวงพ่อไปกรุงเทพฯ เพื่อถวายภัตตาหารเพลที่บ้านของท่าน ในสมัยก่อนต้องอาศัยเดินทางทางเรือ วันนั้นหลวงพ่อเดินทางโดยเรือสำปั้นพร้อมกับลูกศิษย์ แต่ด้วยขณะนั้นเป็นช่วงฤดูแล้ง น้ำจึงแห้งขอดคลองวัดตลาดใหม่ ต้องใช้วิธีโยงเรือทั้งสองข้างเพื่อลากโยงเรือ จากวัดตลาดใหม่จะออกสู่แม่น้ำน้อยระยะทางประมาณ 6 ก.ม. ขณะที่เรืออยู่ระหว่างกลางทางบริเวณก่อนถึงวัดโพธิ์ปล้ำ หลวงพ่อได้เห็นคนกำลังจะยิงนกกระยาง ท่านนึกสงสารจึงอาราธนา ปรากฏว่าคนๆ นั้นยิงนกไม่ออกเช่นกัน

ขอขอบคุณ คุณสมชัย จงทวีทรัพย์ คุณบุญส่ง รอดเสียงล้ำ (ลุงส่งคานเรือ) คุณไพชยนต์ ดิษพงศ์ (ครูปู ร.ร.อนุบาลวัดนางใน) ที่กรุณาให้ข้อมูลและรูปถ่ายเพื่อเผยแพร่กิตติคุณของหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ครับ

บทความโดย คุณแทน ท่าพระจันทร์

http://jeabpraram7.igetweb.com/?mo=3&art=460002
หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ พระเกจิแห่งเมืองวิเศษชัยชาญ เคยไปทอดกฐินที่วัดนี้ เมื่อตอนเล็กๆกับคุณพ่อ เลยไปคุย ท่านเล่าให้ฟังว่าสมัยนั้น หลวงพ่อยังอยู่ คุณพ่อบวชที่นี่เพราะเป็นบ้านเกิด ท่านยังเล่าว่า คนที่รู้เรื่องหลวงพ่อดีที่สุดต้องเป็นผู้ใหญ่นงบ้านหลักขอน เพราะเป็นศิษย์ก้นกุฏิ ตอนนี้ไม่รู้ยังอยู่หรือเปล่าถ้าอยู่อายุก็ราวๆ 80 แล้ว ส่วนลุงส่ง รอดเสียงล้ำ กับลุงหวล คุณพ่อก็ยืนยันว่าทั้งสองท่านรู้จักหลวงพ่อ โดยเฉพาะลุงหวลอยู่ใกล้ๆวัดและจ้ดเป็นผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อคนหนึ่ง ส่วนตระกูลรอดเสียงล้ำก็เป็นตระกูลเก่าของที่นี่ ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับหลวงพ่อจึงถูกต้อง โดยเฉพาะท่านเก่งเรื่องยาแผนโบราณมาก พอดีคุณพ่อมีรูปหล่อหลวงพ่ออยู่เลยนำมาลงให้ชมกัน ส่วนผ้ายันต์มีโอกาสจะถ่ายมาให้ชมกันครับ เหรียญปี 2506ด้วยครับ
"...หลวงพ่อท่านเป็นพระเถราจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีอายุยืน ท่านเกิดวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2415 ถ้านับพระเกจิอาจารย์ที่สร้างเบี้ยแก้สายอ่างทองแล้วถือว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2509 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 71
สำหรับประสบการณ์ที่เล่าโดยคุณบุญส่ง รอดเสียงล้ำ ได้เล่าให้ฟังว่า ลูกชายของแกได้ขับรถจักรยานยนต์แหกโค้งคว่ำได้รับบาดเจ็บ ขณะขับรถซึ่งเป็นถนนลูกรัง ปรากฏว่าบริเวณนั้นเป็นโค้งหักศอก เวลาประมาณบ่ายสี่โมงเย็น ด้วยความรีบเร่งขับรถด้วยความเร็วสูง ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำศีรษะฟาดพื้นถนน โดยที่ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อก ผมขาดเป็นกระจุก แต่ที่ศีรษะไม่เป็นอะไร ส่วนบริเวณหัวเข่ากลับเป็นแผลยาว 3 นิ้ว ผู้ประสบเหตุช่วยนำส่งสถานีอนามัยโรงช้าง ขณะที่เจ้าหน้าที่อนามัยกำลังทำการเย็บแผลที่หัวเข่าปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเย็บแผลได้ เข็มแทงไม่เข้า เข็มหักถึง 8 เล่ม คุณลุงคนหนึ่งจึงสงสัยว่าพ่อหนุ่มคนนี้คงจะมีของดี จึงเอ่ยปากว่ามีอะไรติดตัว ให้เอาออกเสียก่อน ปรากฏว่ามีเหรียญหลวงพ่อซำ ปี"06 และเบี้ยแก้อาถรรพณ์ของหลวงพ่อซำ จึงให้เอาออกเสียก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่อนามัยจึงสามารถทำการเย็บแผลได้.."

ขอบคุณข้อมูลจากคอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง
http://jeabpraram7.igetweb.com/?mo=3&art=460002

วัดโพธิ์ศรี หลวงพ่อกร่าย

พระครูญาณวุฒิกร หรือ หลวงพ่อกร่าย ญาณวโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2446 โดยมีนายทรัพย์
นางแล่ม แจ่มอัมพร เป็นบิดา-มารดา ท่านเกิดที่ใกล้วัดน้อยชมพู่ อำเภอศรีประจันทร์ จังหวัดสุพรรณบุรี
เมื่อท่านอายุครบ 22 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดโบสถ์ ตำบลอบทม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2468 โดยมีหลวงพ่อภักตร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการฟุ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวโร
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่กับ หลวงพ่อบุญ วัดสี่ร้อย ซึ่งหลวงพ่อบุญ ท่านนี้คือศิษย์ของหลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันธ์ รุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จนกระทั่งในปี 2475 วัดโพธิ์ศรี ว่างเจ้าอาวาสลง ประชาชนชาวบ้านพงสีจึงได้พร้อมใจกันไปหาพระปลัดบุญ วัดสี่ร้อย เพื่อให้ท่านเลือกพระดีไปเป็นเจ้าอาวาสให้ ท่านพระปลัดบุญจึงมอบหมายให้หลวงพ่อกร่าย ซึ่งในขณะนั้นมีพรรษา ได้ 7 พรรษาให้ไปเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อกร่ายท่านเป็นที่พึ่งให้แก่ชาวบ้านพงสี ทั้งทางด้านคาถาอาคม และทางด้านการพัฒนาชุมชน เดิมย่านบ้านพงสีเป็นพื้นที่ซึ่งห่างไกลความเจริญ หลวงพ่อท่านตระหนักถึงผลเสียดังกล่าว ท่านจึงได้ติดต่อประสานงานกับหน่อยงานของรัฐ เพื่อทำการถมลูกรังทำถนนคันคลองชลประทาน รวมถึงปักเสาไฟฟ้าเพื่อนำไฟฟ้าเข้าสู่วัดและชุมชน นอกเหนือไปจากนั้น ท่านยังได้ติดต่อประสานเพื่อจัดตั้ง โรงเรียนวัดโพธิ์ศรี(ประชารังสรรค์) ขึ้นอีกด้วย ในปี 2481 อันนำประโยชน์มาสู่ลูกหลานบ้านโพธิ์ศรีเป็นอย่างยมาก
เมื่อหลวงพ่อกร่ายอายุได้ประมาณ 70 ปี ท่านก็เริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน ซึ่งต่อมาก็ได้กลายมาเป็นโรคประจำตัวของท่าน นับเป็นสิบปี ที่ท่านต้องเข้ารับการรักษา จนกระทั่งในปลายปี 2529 อาการของโรคก็ได้กำเริบขึ้น บรรดาศิษย์ต่างก็พาท่านไปรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ จนครั้งสุดท้ายท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน แต่ด้วยความชราภาพและโรคแทรกซ้อนที่รุมเร้ากันเข้ามา สุดความสามารถของแพทย์ ในที่สุด เมื่อเวลา 17.39 น. ของวันที่ 24 ก.ย. 2530 หลวงพ่อกร่าย ท่านก็ละสังขาร รวมอายุได้ 84 ปี 7 เดือน 19 วัน
ก่อนการพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อ ได้มีการเปิดโลงขึ้นมาเพื่อเตรียมการดังกล่าว ปรากฏกว่าศพของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อยเพียงแต่เหี่ยวแห้งลงไปเท่านั้น แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ทางวัดมิได้เก็บสังขารท่านเอาไว้ และได้ขอพระราชทานเพลิงศพท่านไปเมื่อ วันที่ 11 เม.ษ. 2536

วัดนางใน หลวงพ่อนุ่ม

ประวัตินางในธัมมิการาม
ข้อมูลจาก http://p.moohin.com/119.shtml

ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ บ้านนางใน หมู่ที่ ๗ ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๕ วา โฉนดเลขที่ ๘๙๓๔,๑๓๐๐๘ อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับถนนสายโพธิพยา - อ่างทอง ทิศใต้และทิศตะวันออก ติดต่อกับถนนสุขาภิบาลศาลเจ้าโรงทอง ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินของนายสม เมืองบุรี และนายสี มงคลอินทร มีที่ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๖๔ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๑๘

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีบ้านเรือนประชาชนโดยรอบ และมีสถานที่สาธารณะเป็นทางคมนาคมสะดวก อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี อุโบสถกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ศาลาการเปรียญกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๔๘ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นอาคารไม้ โครงสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นอาคารไม้ทั้งหลัง กุฎีสงฆ์ จำนวน ๙ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สำหรับปูชนียวัตถุ พระประธานในอุโบสถ

วัดนางในธัมมิการาม สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๓ ชาวบ้านเรียก “วัดนางใน” ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณพ.ศ. ๒๔๕๓ การบูรณะพัฒนาวัดได้เริ่มจริงจังขึ้นมากในสมัยของพระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม เป็นเจ้าอาวาส นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นต้นมา เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ นอกจากนี้ยังได้ให้ทางราชการจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นในที่วัดนี้อีกด้วย

http://p.moohin.com/119.shtml


ข้อมูลประวัติหลวงพ่อนุ่ม

เกิดวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2426 ตรงกับแรม 3 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม เป็นบุตรของ นายสอน นางแจ่ม ศรแก้วดารา
ณ บ้านสามจุ่น อ.ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี


อุปสมบท ณ วัดปลายนา อ.ศรีประจันต์ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446


มรณภาพ วันที่ 13 สิงหาคม 2497 เวลา 23.l5 น.


รวมสิริอายุ 72 ปี 52 พรรษา

พระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2426 อ่อนกว่าหลวงพ่อพัก 1 ปี โยมบิดาของท่านชื่อสอน โยมมารดาชื่อแจ่ม นามสกุลศรแก้วดารา หลวงพ่อนุ่มเกิดที่บ้านสามจุ่น ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตอนที่ท่านอายุได้ 10 ขวบ ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน และเมื่ออายุท่านครบ 20 ปี

จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446 โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม พรรษาที่ 8 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ตำบลศาลเจ้าโรงทอง

เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น ประชาชนในท้องที่นั้นเคารพศรัทธาเลื่อมใสช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างพระ อุโบสถวัดสามจุ่นจึงสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม

พอถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงอีก 10 ปี ต่อมาจึงได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ ในปี พ.ศ. 2469 ในสมัยนั้นวัดนางในชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางใน

จนเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ถึงปี พ.ศ. 2477 ท่านจึงได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ผลงานต่างๆ ของหลวงพ่อมีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด หลวงพ่อนุ่มปกครองวัดนางในเป็นเวลา 30 ปี จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ท่านจึงมรณภาพ สิริอายุได้ 71 ปี พรรษาที่ 51 ในงานประจำปีของวัดนางในทุกปี จะจัดงานตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โตทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานเป็นหมื่นคนทุกปี

ในสมัยที่ท่าน ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ พระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา และเบี้ยแก้ เป็นต้น วัตถุมงคลทุกชนิดของหลวงพ่อนุ่มล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมเสาะหา และหวงแหนของชาววิเศษชัยชาญ เหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นสนนราคาหลักหมื่นกลางๆ


วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

เหรียญรุ่นแรก คือ เหรียญปั๊มรุ่นเดียวที่ทันหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีขนาดค่อนข้างเล็ก ด้านหน้ารูปเหมือนหน้าตรงครึ่งองค์ อักษรภาษาไทยด้านบนอ่านว่า “พระอุปัชฌาย์ (นุ่ม)” ภายในซุ้มไข่ปลาและซุ้มเส้นลวด ด้านหลังเป็นยันต์ห้า และอักขระขอมหนึ่งแถวใต้ยันต์ลงมา

วัตถุมงคลอื่น ๆ ประกอบด้วย เหรียญรุ่นต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเหรียญรุ่นแรก มีประมาณสิบกว่ารุ่น เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมพิมพ์พระพุทธ พระเนื้อดินจุ่มรัก พิมพ์นั่งบัว รูปเหมือนปั๊มบรรจุอัฐิ เบี้ยแก้ เป็นต้น

วัดอบทม หลวงพ่อทองใบ

ข้อมูลจาก http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=7&qid=7750

ประวัติของท่านเท่าที่หาดูยังไม่มีใครเอามาเผยแพร่ เท่าที่ผมไปพูดคุยกับผู้ที่ไกล้ชิดกับท่านพอได้ข้อมูลมาบ้าง ท่านเป็นคนทางแม่กลอง ไม่ใช่คนอ่างทองโดยกำเนิด แต่ท่านมาอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่ท่านมาเป็นเณรมาแล้ว ท่านนับถือหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำมาก แต่พระองค์อื่นท่านไม่เคยกลัวเลย มีอยู่คราวมีงานที่วัดท่าน(ตี๋) เจ้าภาพนิมนต์พระเกจิมาหลายองค์เช่นหลวงพ่อแพ (วัดพิกุลทอง)หลวงพ่อหล่อ มีคนไปบอกท่านว่าหลวงพ่อหลวงพ่อแพ หลวงพ่อหล่อมา ท่านนุ่งสบงท่องหนังสืออยู่บอกว่า ก็ให้มันมาหล่อให้เป็นแพ มันไม่มากูก็ช่างแม่งมันซิ พอพูดหลวงพ่อแพก็ขึ้นมาพอดีก็ได้ยินที่หลวงพ่อพูด หลวงพ่อหล่อบอกว่ามากราบหลวงพี่ไอ้หล่อเรอะ หลวงพ่อแพบอกหลวงพี่ใบนอนสบายเลย หลวงพ่อบอกเอ้อ หลวงพ่อพระครูเต่ามา(วัดน้ำพุ)อ๋อไอ้เต่ามาก็ให้มันคลานมามันมีตั้งสี่ขา (ท่านจะพูดแบบห้วนๆแบบชาวบ้านๆ) ท่านจะนอนโดยไม่สนใจว่าพระผู้ใหญ่มาจากใหน ไม่ลุกไปรับแขกด้วย แต่ถ้ารู้ว่าเป็นหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำจะมา ท่านจะรีบแต่งตัว เรียบร้อย ไปยืนรอรับหลวงพ่อคำที่หน้าวัดทีเดียว


วัตรปฎิบัติท่านมีลักษณะคล้ายกับสมเด็จพุฒาจารย์(โต) เรียกว่าท่านทำอะไรแปลกๆ จากคำบอกเล่าของหมอพงษ์ ซึ่งเป็นศิษย์(ที่จริงหมอพงษ์อายุจะอ่อนกว่าหลวงพ่ออยู่ไม่กี่ปี ก่อนหน้าหมอพงษ์เคยบวชอยู่จนเป็นมหาพงษ์ ตอนหลังสึกออกมา เป็นผู้ที่อยู่ไกล้ชิดหลวงพ่อมานานตั้งแต่หลวงพ่อบวชใหม่ๆ)...."
มีอยู่คราวหนึ่ง หลวงพ่อท่านกลับมาจากสอบ(อุปัชฌาย์)จากวัดบางจักร์ นั่งเรือกลับวัด หลวงพ่อท่านอยากกินขนมครก ซื้อขนมครก 5 บาทนั่งกินมาในเรือ หมอพงษ์บอกว่าหลวงพ่อนั่งให้ดีๆ ท่านบอกว่า ไม่ ..กูไม่นั่ง ไอ้ยุงอ้าปาก บอกว่าหลวงพ่อทำให้ดี หลวงพ่อบอกว่า มึงดีอย่าไง พอถึงวัดหลวง เพลแล้ว คนก็เห็นบอกว่านั่นหลวงพ่อวัดอบทม ได้ยินเขาตีกลองกัน หลวงพ่อบอกว่าไอ้พงษ์ (หมอพงษ์ขณะนั่นบวชเป็นพระ) ไอ้จ๋า (ขณะนั้นเป็นเณร)มึงรำกลองเป็นไหม หมอพงษ์บอกว่าทำไมผมจะรำไม่เป็นเล่า เท่านั้นเองหลวงพ่อลุกขึ้นรำเองเลย ชาวบ้านเห็นก็พูดกันว่าเอ๋ยนั่นท่านมหาอบทมเลยนะนั่น รึทำไมทำอย่างนั้น พอถึงวัดใหญ่ร่มไม่กางนั่งสูบบุหรี่ แล้วเอาบุหรี่จี้ที่หว่างขาตัวเอง พอร้อนก็สะดุ้งผ้าขาด เดินผ้าขาดตั้งแต่วัดใหญ่ท่านเดินลุยน้ำมา ถกผ้าคลุมหัวชาวบ้านเห็นตกใจหมด หลวงพ่อท่านบอกว่ากูร้อนกูนี่หว่า .."

มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อไปบวชพระข้ามเขต อาจารย์หว่างวัดยางก็พ้องว่าหลวงพ่อบวชพระข้ามเขต หลวงพ่อท่านมารู้ตอนหลังก็พูดว่า กูไม่รู้ว่าเป็นมึงไอ้หว่าง ถ้ากุรู้กูชวนมึงต่อยไปแล้ว

คนเอาอาหารดีๆมาถวาย หลวงพ่อเอาให้แมวหมาหมด

เมื่อคราวกฐินสามัคคีผักให่มาหลวงพ่อท่านนั่งยองๆ เอาตะเกียบคีบผักจิ้มน้ำพริกในครกเลยในครัวเลย สากก็ไม่เอาออก คณะกฐินเห็นบอกว่าพระองค์นี้จิตไม่ดีสงสัยบ้า หลวงพ่อได้ยินลุกขึ้นมาเอาถังครอบหัวเคาตีเดินไป แต่พอถึงเวลาขึ้นเทศน์หลวงพ่อท่านเปลี่ยนชุดใหม่ แล้วขึ้นเทศน์คนที่เห็นบอกว่าเป็นคนละองค์กับเมื่อกี้เลย..........ข้อมูลและเรี่องราวเป็นการถอดเทปจากที่ไปสัมภาษณ์มา ยังไม่ได้เรียบเรียง ให้ดีพอ..บางตอนก็ออกอากาศไม่ได้

เรื่องราวของท่าน เเปลก เเหวกเเนวนะครับ สมัยก่อนๆ เคยลงในหนังสือพุทโธ ไม่ค่อยได้สนใจ เเต่เท่าที่พอจำได้ท่านอยู่อย่างสมถะ
http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=7&qid=7750

วัดเขียน จิตรกรรมฝาผนังวิเศษฯ

ข้อมูลจาก http://www.bansansuk.com/travel/Measure%20write/

วัดเขียน เป็นวัดเล็ก ๆ ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 50 บ้านคงกะพัน หมู่ที่ 8 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน้อย มีหมู่บ้านและลำคลองโดยรอบบริเวณวัด เดิมถูกปล่อยร้างอยู่เป็นเวลานาน เมื่อมีผู้คนมาอาศัยอยู่มากขึ้นกลายเป็นชุมชน วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมของชุมชนในเวลาต่อมา


สำหรับคำว่า "วัดเขียน" อาจสัญนษฐานได้ 2 กรณีคือ กรณีแรก เนื่องจากภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนที่สาวยงามจึงเรียก วัดเขียน ตามอย่างดบสถ์เขียนหรือวิหารเขียนที่วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ตามแนวคิดของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อีกกรณีหนึ่ง เดิมวัดนี้ชื่อ วัดเขียน อยู่แล้ว แต่เพื่อให้สมกับชื่อจึงมีการเขียนภาพไว้ในพระอุโบสถ



เนื่องจากไม่ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างวัดแห่งนี้ จึงไม่สามารถกำหนดอายุที่แน่นอนได้ว่าสร้างเมื่อใด แต่จากสภาพแวดล้อมและลักษณะของวัดบริเวณใกล้เคียง สันนิษฐานว่าวัดเขียนและวัดบริเวณใกล้เคียง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันและได้ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานก่อนจะมีกการบูรณะขึ้นใหม่ แต่จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีวัตถุสถานของวัดแห่งนี้ เช่น อุโบสถ ใบเสมา เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ล้วนสนับสนุนการกำหนดอายุของวัดแห่งนี้ว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาทั้งสิ้น ดังนั้นก็เป็นที่น่าเชื่อว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถก็เป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นเดียวกัน



ศิลปะโบราณวัตถุสถานที่น่าสนใจภายในวัดเขียน ได้แก่
อุโบสถ อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อุโบสถหลังเดิมมีขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นประตูหลอก ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้าละ 3 บาน เป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 2 บาน ที่เหลืออีกด้านหนึ่งเป็นหน้าต่างหลอก เสาภายในอาคารเป็นเสาเหลี่ยมติดผนัง บัวหัวเสาร์เป็นหัวกลีบยาวซึ่งเป็นลักษณะของบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย หน้าบันเป็นหน้าบันไม้ขนาดเล็กแกะสลักลวดลายเป็นลายเทพนมและลายกระจังรวน ในคราวที่มีการปฏิสังขรณ์อาคารใหม่หลังจากได้เคยถูกทิ้งร้างมาครั้งหนึ่ง หน้าบันทั้ง 2 ชิ้นได้ถูกรื้อลงและนำไปประกอบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านชลประทาน เครื่องบันหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องลอนสีน้ำตาลแดง มีชายคาปีกนกยื่นออกมา 2 ข้าง สลักลวดลายเช่นเดียวกับลายหน้าบัน



ใบเสมาอุโบสถวัดเขียน อ่างทอง อยู่รอบพระอุโบสถ ยอดทรงมงกุฎ มีทับทรวง มีตาเสมา มีเอว มีท้องเสมา เป็นใบเสมาสมัยอยุธยาตอนปลาย เหมือนใบเสมาวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ อันเป็นของสมัยอยุธยาตอนปลาย


เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สมัยอยุธยาตอนปลาย อยุ่หน้าอุโบสถวัดเขียนทางด้านทิศตะวันออก (หน้าอุโบสถหันออกสู่แม่น้ำเป็นแบบแผนอยุธยาตอนปลายอย่างหนึ่งที่นิยมสร้างเจดีย์อยู่หน้าอุโบสถเช่นเดียวกับวัดพิไชยสงคราม (วัดนอก) สมุทรปราการ วัดสามวิหาร อยุธยา วัดศรีโพธิ์ อยุธยา วัดพยาแมน อยุธยา)


ภาพเขียนในอุโบสถ

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกภายในป่าหิมพาน รูปเหล่าสาวชาวป่าทำบุญตักบาตรพระสงฆ์


วันว่างอย่าลืมมาชมความงามของภาพจิตกรรมโบราณในอุโบสถ ณ วัดเขียน ศึกษาประวัติความเป็นมาของวัด และทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

การเดินทาง
วัดเขียนห่างจากอำเภอเมือง 12 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 3454 ประมาณ 1 กิโลเมตร

http://www.bansansuk.com/travel/Measure%20write/

วัดนางชำ หลวงพ่อบุญมี แม่ค้านางชำ

เดิมชื่อวัด "นิททราเม่ค้านางชำ"

พระครูพิพัฒนาทร(หลวงพ่อบุญมี ปุญญกาโม) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2450 ที่บ้านดาบ ตำบลคลองขนาก อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เกิดปีมะแม วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
เมื่อายุได้ 12 ปี ได้บวชเป็ฯสามเณรจนอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดนางชำ ซึ่งมีพระครูจันทร์ วัดบางจัก เป็นพระอุปัชฌาย์ ระหว่างอุปสมบทได้รับการรักษาตัวกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา และได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา เรียนวิชาเป็นที่พอใจแล้วจึงได้กับมาบริหารวัด และใช้วิชาความรู้ที่ได้รับการถายทอดมาจากหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อจง มีรักษาญาติโยม เช่นรดน้ำมนต์ ใช้มีดหมอรักษาอาการญาติโยม แล้วแต่จะมาให้รักษา ปัจจุบันท่านมรณภาพหลายปีแล้ว แต่ร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย แต่ปัจจุบันศิษย์ ได้ขอพระราชทานเพลิงศพ ท่านไปแล้ว ...
ข้อมูลจาก พ่อครูธนายุส ภู่เจริญ

วัดน้ำพุ หลวงพ่อเต่าพระหมอไสยเวทย์

สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ชาววัดน้ำพุ นับถือ อันได้แก่ หลวงพ่อเพชร(พระพุทธรูปเก่าปางสมาธิ สมัยอยุธยา)
หลวงพ่อหวาด(อดีตเจ้าอาวาส องค์แรก)
หลวงพ่อเต่า(อดีตเจ้าอาวาส และพระหมอ ที่รักษาได้ทุกโรด
พระปรางค์ที่เชื่อว่าสร้างครอบบ่อน้ำพุไว้ อคีตวันนี้ชื่อวัดบ่อน้ำพุ และกลายมาเป็นวัดน้ำพุจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อเต่า ธมฺมธโร หรือ พระครูธรรมพิริยคุณ
เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 28 ก.ค. 2441 ที่คลองขนาก อ.วิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายเชย นาง จันทร์ มณีโชติ ในวัยเด็กได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากสำนักเรียนวัดนางชำ เข้ารับการอุปสมบทเมื่อปี 2461 ณ พัทธสีมาวัดนางชำ โดยมีพระครูสุกิจวิชาญ เจ้าคณะอำเภอวิเศษชัยชาญ วัดท่าข่อย เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจันทร์ วัดบางจัก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิเศษชัยสิทธิ์ วัดอ่างทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วจำพรรษาที่วัดนางชำ จากนั้นเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพ เมื่อปี 2465 จนถึงปี 2471 กลับมาจำพรรษาที่วัดอ่างทอง จนกระทั่งปี 2474 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน้ำพุว่างลง ชาวบ้านจึงได้ไปนิมนต์ให้หลวงพ่อเต่ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน้ำพุ ปี 2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูธรรมพิริยคุณ ปีรุ่งขึ้นได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอวิเศษชัยชาญ หลวงพ่อเต่า มรณภาพลงเมื่อปี 2499 ขณะรับนิมนต์ไปที่วัดวังขนาบ จังหวัดกาญจนบุรี
ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่หลวงพ่อเต่าท่านมีชื่อเสียงในฐานะของพระหมอ ที่รักษาผู้เจ็บป่วยจากโรคร้ายต่างๆได้อย่างชะงัดนัก

วัดสี่ร้อย หลวงพ่อโตร้องไห้ ขุนรองปลัดชูวีรชนคนสี่ร้อย

วัดสี่ร้อย
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลสี่ร้อย ชื่อตำบลสี่ร้อยและชื่อวัดเป็นชื่อที่สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ขุนรองปลัดชู และชาวบ้านวิเศษชัยชาญ 400 คน ที่เสียชีวิตในสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เมืองกุย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2302 วัดแห่งนี้ มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ นามว่า "หลวงพ่อโต" หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "หลวงพ่อร้องไห้" เมื่อปีพ.ศ 2530 มีข่าวใหญ่ว่าหลวงพ่อวัดสี่ร้อยมีโลหิตไหลออกมาจากพระนาสิก ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปทั้งชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงต่างหาโอกาสมานมัสการ "หลวงพ่อร้องไห้" นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถวัดนี้เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างอยุธยา ที่มีความงดงามมาก ปัจจุบันภาพลบเลือนไปหมดแล้ว


วีรกรรมขุนรองปลัดชู

ขุนรองปลัดชู วีรกรรมที่ถูกลืม
โดย... นายทวีศักดิ์ ศรีทองกิติกูล
http://www.aownoi.go.th/webpage/slogan.php?sg=5

กรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ.2302 – 2303 ) สมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์พระเจ้าอลองพญาทราบเหตุว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดแผ่นดินจึงได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองมะริด และเมืองตะนาวศรี หัวเมืองของกรุงศรีอยุธยา โดยอ้างเหตุว่าให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏมอญ เมื่อยึดได้เมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีแล้ว พระเจ้าลองพญาก็ได้เคลื่อนทัพผ่านทางด่านสิงขร เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาทราบเรื่อง พระเจ้าเอกทัศน์ได้รับสั่งให้พระยายมราชคุมพลเป็นทัพหน้าออกมาต่อกรกับทัพพม่าที่ด่านสิงขร และให้พระยารัตนาธิเบศเป็นแม่ทัพคุมพลเข้ามาตั้งรับทัพพม่า ที่เมืองกุยบุรี


ขณะนั้น ขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษชัยชาญ เป็นผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในการรบ และคงกระพันชาตรี เข้ามารับอาสากับไพร่สี่ร้อยคน ขอไปรบกับพม่า ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นกองอาทมาต (หน่วยรบพิเศษ) ร่วมทัพมากับพระยารัตนาธิเบศ


ทัพของพระยายมราช เข้าปะทะกับทัพของพม่าที่เมืองแก่งตุมด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถอยรุ่นไม่เป็นขบวน พระยารัตนาธิเบศตั้งค่ายมั่นอยู่ ณ เมืองกุยบุรี แจ้งว่าทัพพม่ายกพลมาเป็นจำนวนมาก อาจต้านทานไว้ไม่ไหว จึงสั่งการให้เกณฑ์ไพร่พล และเร่งอพยพผู้คนหลบหนีพม่า และหวังรวบรวมผู้คนเพื่อไปตั้งมั่นรับพม่าที่ชานพระนคร ครั้งนั้น ขุนรองปลัดชู ได้อาสาขอต้านทานทัพพม่าด้วยกำลังพลเพียงสี่ร้อยนาย เพื่อยันทัพข้าศึกและเปิดทางให้รี้พลได้หลบหนี พระยารัตนาธิเบศ จึงได้แบ่งไพร่ให้อีกห้าร้อยนายไปช่วยกองกำลังของขุนรองปลัดชู ในการต่อต้านทัพพม่า


ณ ชายหาดหว้าขาวชายทะเล (บ้านทุ่งหมากเม่า ตำบลอ่าวน้อย) เวลาเช้าตรู่ ขุนรองปลัดชูพร้อมกับเหล่าทหาร ตั้งท่ารอทัพพม่าอยู่ด้วยจิตใจห้าวหาญ เมื่อเห็นกองทัพพม่าก็กรูกันออกโจมตีทัพหน้าของพม่ารบกันด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอนกัน แทงพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก และตัวขุนรองปลัดชูท่านถือดาบสองมือ วิ่งเข้าท่ามกลางข้าศึก ฟันพม่าล้มตายก่ายกองดั่งขอนไม้ ด้วยกำลังพลเก้าร้อยต่อทัพพม่านับหมื่นที่ยัดเยียดหนุนเนื่องกันเข้ามาต่อรบได้รบกันอยู่ตั้งแต่เข้าจนถึงเวลาเที่ยง ขุนรองปลัดชูไม่คิดถอยหนี ต่อสู้ทัพพม่าจนเหนื่อยอ่อนสิ้นกำลัง ถูกกองทัพพม่าใช้พลทัพช้างขับช้างเข้าเหยียบจนล้มตาย ต่างพากันถอนร่นลงทะเล จนจมน้ำทะเลตายเสียสิ้น กองทัพพม่าจึงมีชัย พระยารัตนาธิเบศจึงได้เร่งเลิกทัพหนีมากับทัพพระยายมราช กลับมาถึงพระนครขึ้นเฝ้ากราบทูลว่า ศึกพม่าเหลือกำลังจึงพ่าย


ฝ่ายทัพพม่าเมื่อมีชัยเหนือกองทหารเก้าร้อยคน ก็เหนื่อยอ่อนหยุดทัพพักผ่อน ก่อนเดินทัพเข้าเมืองกุย เมืองปราณ เมืองชะอำ เมืองเพชรบุรี เมืองราชรี เมืองสุพรรณบุรี โดยไม่มีหัวเมืองใดต่อรบกับพม่าเลย และต่อมาชาววิเศษชัยชาญ ได้ร่วมกันสร้างวัดสี่ร้อยเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ตราบจนถึงปัจจุบัน


ในบันทึกของพม่าในกาลต่อมากล่าวว่า การตีกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น ได้มีการต่อสู้กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ที่ช่องเขาแคบๆ ริมทะเลอย่างประจัญบาน ดุเดือด ก่อนเข้าเมืองกุย เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี โดยง่าย


หากกองทัพกรุงศรีอยุธยา มีคนอย่างขุนรองปลัดชู ไหนเลยเราจะเสียกรุงศรีอยุธยา และหากคนประจวบคีรีขันธ์ ยังไม่รู้จักวีรกรรมที่หาดหว้าขาว ไหนเลยวิญญาณของนักรบไทย จะได้รับการยกย่องความดี ความกล้า ความเสียสละต่อชาติ ต้องไม่ถูกลืม ขอยกย่องวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ณ ดินแดนเมืองประจวบคีรีขันธ์

















ไหว้พระวิเศษฯ












โดยกลุ่มเพลงสยาม : Siam Music Group
บรรเลงธรรม เป็นโครงการบันทึกบทเพลงบรรเลงทางฆ้องวงใหญ่ เพลงโบราณควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อเป็นหลักฐานระดับชาติ รวมถึงการสร้างสรรค์บทเพลงไทยร่วมสมัย ที่มีท่วงทำนองน้อมนำเข้าสู่ความสุข สงบร่มเย็น เห็นธรรม

บรรเลงธรรม ไหว้พระวิเศษ คือสารคดีโทรทัศน์ชุดปฐมฤกษ์ ความยาวตอนละ 30 นาที ที่จะพาท่านผู้ชมที่สนใจใฝ่ธรรม ได้เสมือนร่วมท่องเที่ยวเดินทางไปไหว้พระ สิ่งศักดิ์สิทธิ์มหามงคล ณ วัดวาอารามในย่านวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จำนวนอย่างน้อย 15 วัด/ตอน โดยมีเสียงบรรเลงฆ้องวงใหญ่หรือเสียงดนตรีไทยอันไพเราะจากฝีมือศิลปินอาวุโสท้องถิ่นวิเศษชัยชาญประกอบสารคดีโทรทัศน์

ทั้งนี้บรรเลงธรรม ไหว้พระวิเศษฯ จะนำเผยแพร่ผ่านรายการสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ที่มีความสนใจให้ความอนุเคราะห์พื้นที่เวลาการออกอากาศ

สำหรับผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนการสร้างสรรค์สื่อสารคดีโทรทัศน์จะได้รับวิดีทัศน์ “บรรเลงธรรมไหว้พระวิเศษฯ”
เพื่อนำไปแจกจ่ายมอบให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย หรือถวายเป็นธรรมทานกับวัดวาอาราม ย่านวิเศษชัยชาญ(ทั้ง 15 วัด) เพื่อให้นักท่องเที่ยว สาธุชนที่มากราบไหว้ได้มีโอกาสได้นำกลับไปชื่นชม เพื่อความสุขร่มเย็นเห็นธรรมต่อไป

ทั้งนี้โครงการบรรเลงธรรม “ไหว้พระวิเศษฯ” ยังเป็นต้นแบบของการนำเสนอสารคดีสร้างสรรค์ชุดบรรเลงธรรมไหว้พระในท้องถิ่นอื่นๆ จังหวัดต่างๆทั่วไทยและ บรรเลงธรรม “ไหว้ ๙ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไทย”


วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนโครงการบรรเลงธรรม ในท้องถิ่น จังหวัดภูมิภาคอื่นๆตามความเหมาะสมต่อไป
2. เพื่อบันทึกเพลงไทยทางฆ้องวงใหญ่ที่สำคัญไว้เป็นหลักฐานของชาติไทยต่อไป
3. เพื่อโครงการนำร่องส่งเสริมการท่องเที่ยวไหว้พระในเขตอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองต่อไป



ผู้สนับสนุนได้รับ

1.ประธานโครงการ : หรือผู้สนับสนุนหลัก [Main Sponsor]
สนับสนุนจำนวน 180,000 บาท
• จะได้รับอภินันทนาการภาพเก่าหายาก หลวงพ่อเต่า (พระครูธรรมพิริยะคุณ) วัดน้ำพุสิทธาราม จำนวน 3 ภาพ
• จะได้รับวิดีทัศน์ “บรรเลงธรรมไหว้พระวิเศษฯ” จำนวน 500 ชุด / แผ่นละ 250 บาท รวมมูลค่า 125,000 บาท


2.ผู้ร่วมสนับสนุนกิจกรรม [Co. Sponsor]
สนับสนุนจำนวน 18,000 บาท
• จะได้รับวิดีทัศน์ “บรรเลงธรรมไหว้พระวิเศษฯ” จำนวน 50 ชุด / แผ่นละ 250 บาท รวมมูลค่า 12,500 บาท


รูปแบบการนำเสนอ สารคดีโทรทัศน์ความยาว 30 นาที/ตอน

ช่องทางการออกอากาศ Free TV / ทีวีดาวเทียม : ตัวอย่าง ของดีประเทศไทย, SHOW, ลายไทย ฯลฯ
นำเสนอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย ผู้สนใจธรรมมะ นักท่องเที่ยวเดินทางแสวงบุญไหว้พระ
ผู้สนใจดนตรีไทย และเยาวชนคนรุ่นใหม่

ผู้ดำเนินรายการกิตติมศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญปราชญ์ท้องถิ่น หรือผู้สนับสนุนกิจกรรม

ผู้ดำเนินรายการ คมสันต์ สุทนต์
ผู้ดำเนินรายการไทยโชว์ และบางบรรเลงเพลงระนาด
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสThai PBS
http://www.thaipbs.or.th/thaishow

ผลที่คาดว่าได้รับ
1. มีทุนหมุนเวียนเบื้องต้น เพื่อโครงการบรรเลงธรรม ในท้องถิ่น จังหวัดอื่นๆ
2. ได้บันทึกเพลงไทยทางฆ้องวงใหญ่ที่สำคัญไว้เป็นหลักฐานของชาติไทย
3. เกิดกระแสการท่องเที่ยวเทศกาลไหว้พระต้นแบบในเขตอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

เนื้อหาหลัก
ประวัติความเป็นมาของแต่ละวัดโบราณสถาน / แหล่งท่องเที่ยว / สิ่งศักดิ์สิทธิ์ / เกจิอาจารย์-พระเครื่อง / ธรรมมะ

กิจกรรมต่อเนื่อง
1.พาสื่อมวลชนไหว้พระวิเศษ ผลักดันให้เกิดเทศกาลไหว้พระวิเศษฯ “1 สัปดาห์ในแต่ละปี ทุกวัดพร้อมใจเปิดรับ
นักท่องเที่ยว”
2. ต่อยอดสร้างสรรค์ “สารคดีโทรทัศน์และหนังสือ –เที่ยวอย่างคนวิเศษฯ-ไหว้พระอ่างทอง-เที่ยวอ่างทอง ”